Loading

การพัฒนาแอปพลิเคชัน Ubon Repository ด้วย Google AppSheet

งานข้อมูลท้องถิ่น ได้ทดลองจัดทำแอปพลิเคชันสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ณ จังหวัดอุบลราชธานีขึ้น โดยใช้ Appsheet ของ Google เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ด้วยว่า Google AppSheet นั้นกำลังได้รับความสนใจเพราะ เป็น No-Code Platform ที่สามารถสร้างแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเขียนโค้ด  นอกจากนั้นแล้วยังมีตัวอย่างการพัฒนาแอปพลิเคชัน (sample app) มากมายให้เลือกใช้ใน  https://www.appsheet.com/Templates ซึ่งเราสามารถเข้าไปดูโครงสร้างข้อมูล และวิธีการตั้งค่าภายในแอปพลิเคชันนั้น ๆ ได้ ทำให้การสร้างแอปพลิเคชันมีความสะดวกและง่ายยิ่งขึ้น

การพัฒนาแอปพลิเคชันสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ณ จังหวัดอุบลราชธานี ให้ชื่อแอปพลิเคชันว่า “Ubon Repositoy” หรือ “คลังข้อมูลอุบลราชธานี” ซึ่งเป็นการนำเสนอการรวบรวมและชี้แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้ผู้ที่ใช้งานสามารถเข้าไปเรียนรู้และเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินในการเดินทางเพื่อเข้าไปศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองหรือเพื่อการท่องเที่ยว

สามารถเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน “Ubon Repository” ได้ที่ https://www.appsheet.com/start/dfdd6a43-9b63-4033-834d-fc6718efa1aa โดยผ่าน Web browser ต่าง ๆ เช่น Chrome, Safari, Microsoft Edge, IE (version 10 ขึ้นไป)

แอปพลิเคชัน Ubon Repository ที่พัฒนาด้วย Google AppSheet

จากการรวบรวมข้อมูลแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ณ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ออกแบบและแบ่งหมวดหมู่ของแหล่งข้อมูลออกเป็น 4 หมวด ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ วัด แหล่งเรียนรู้ศิลปหัตถกรรม แหล่งเรียนรู้เกษตรกรรม โดยแต่ละแหล่งข้อมูลจะประกอบด้วย รายละเอียด อำเภอที่ตั้ง ภาพประกอบ พิกัดภูมิศาสตร์ ข้อมูลเพิ่มเติมบนเว็บไซต์ ระยะห่างจากที่ผู้ใช้งานอยู่ และเส้นทางการเดินทาง นอกจากนั้นแล้วผู้ใช้งานยังสามารถบันทึกได้ว่า To Do (สนใจจะไป) หรือ visited (ไปมาแล้ว) ได้ด้วย ความสัมพันธ์ของข้อมูลแสดงไว้ ดังภาพ

ความสัมพันธ์ของข้อมูลในแอปพลิเคชัน Ubon Repository

ดังนั้น ในการออกแบบตารางสำหรับเชื่อมต่อกับ Google AppSheet และเพื่อจัดเก็บข้อมูลด้วย Google Sheets 1 ตาราง จึงมีข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย ID, Name, Type, Image, Coordinates, LatLong, Amphur, province, Description, visited

ตารางจัดเก็บข้อมูลใน Google Sheets
Data sources ที่อยู่ใน Google AppSheet

การแสดงผลของแอปพลิเคชันมีทั้งหมด 5 หน้า ประกอบด้วย 

  • Ubon Repository แสดงชื่อแหล่งเรียนรู้ เรียงตามลำดับอักษร
  • Type  แสดงชื่อแหล่งเรียนรู้ แยกตามหมวดหมู่
  • Map แสดงพิกัดภูมิศาสตร์บนแผนที่ google map
  • Gallery แสดงภาพแหล่งเรียนรู้ 
  • Details แสดงรายละเอียดข้อมูล
เมนูสำหรับการแสดงผลข้อมูล
การแสดงผลหน้า Ubon Repository
การแสดงผลหน้า Type
การแสดงผลหน้า Map
การแสดงผลหน้า Gallery
การแสดงผลหน้า Details

การพัฒนาแอปพลิเคชัน  “Ubon Repository” นี้ เป็นการทดลองและศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ Google AppSheet เพื่อนำเสนอสารสนเทศท้องถิ่นอีสานในรูปแบบใหม่ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเปิดประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้ ซึ่งจากการพัฒนา พบว่า ถึงแม้จะไม่มีการเขียนโค้ดเองซึ่งอำนวยความสะดวกให้การพัฒนาแอปพลิเคชั่นทำได้อย่างรวดเร็ว แต่ผู้พัฒนาจำเป็นจะต้องมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในการใช้โค้ดหรือเขียนโปรแกรมพอสมควร จึงจะเลือกใช้หรือเข้าใจคำสั่ง หรือกระบวนการทำงานของแอปพลิเคชันได้ ทั้งนี้ การใช้ Google AppSheet ก็เป็นทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่งที่จะนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับใช้ในองค์กรต่อไป

บรรณานุกรม

IT around U. (2022). Google AppSheet. เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566, https://www.youtube.com/playlist?list=PL2CmfJbIvWfDK_ALozkEj0AhAbpS66dTY

Worakarn Ounhattapradit. (2021). รู้จัก AppSheet เครื่องมือสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับองค์กรที่ต้องการ Digital transformation. เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2566, https://datayolk.net/technology/how-appsheet-can-transform-your-business/