Loading

การสร้างสรรค์ลวดลายเพื่อประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ กรณีศึกษาจากหอไตรหนองขุหลุ จังหวัดอุบลราชธานี

หอไตรหนองขุหลุ หอพระไตรปิฎกที่ตั้งอยู่กลางหนองขุหลุ หนองน้ำที่เป็นแลนด์มาร์คสำคัญของอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี หอไตรนี้มีความงดงามโดดเด่นด้วยงานสถาปัตยกรรมแบบอีสานโดยแท้โดยเฉพาะงานไม้แกะสลักลวดลายต่าง ๆ ที่ใช้ประดับตกแต่งรอบ ๆ หอไตร ไม่ว่าจะเป็นคันทวย รวยลำยอง ช่อฟ้า (โหง่) ใบระกา และหางหงส์

หางหงส์ลวดลายก้านขดคล้ายเลขหนึ่งไทยซ้อนกันและหันหัวแย้งกัน 3 ชั้น ซึ่งเป็นรูปแบบที่ประยุกต์มาจากรูปเศียรนาคถูกนำมาใช้เป็นกรณีศึกษาในการสร้างสรรค์ลวดลายใหม่ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม แตกต่าง และทันสมัยมากขึ้น ลวดลายที่ได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ลวดลายที่สร้างสรรค์ขึ้นจะมีความสวยงามและน่าสนใจอย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่…หนังสือ “การสร้างสรรค์ลวดลายเพื่อประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ กรณีศึกษาจากหอไตรหนองขุหลุ จังหวัดอุบลราชธานี” ผลงานการเขียนโดย รศ.ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น