งานวิจัยโดย รองศาสตรจารย์ ดร.ศักดิ์ชาย สิกขา และคณะ
บทคัดย่อ
งานวิจัย การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน ในครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) และ สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการ OTOP ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธ์ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 18 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญ หา ความต้องการ และศักยภาพของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ให้ศักยภาพการผลิต ที่สูงขึ้นและสินค้ามีรูปแบบที่ความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการทั้ง 18 ราย มีปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน รรวมทั้งมีศักยภาพในการผลิต การบริหาร รูปแบบผลิตภัณฑ์ รายได้ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แตกต่างกัน แม้จะเป็นผู้ผลิตสินค้าในกลุ่มเดียวกัน จากการทดลองใช้กระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่นำสู่การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ 3 ขั้นตอน คือ การจัดกิจกรรม ถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการ การจัดกิจกรรมศึกษาดูงานในแหล่งศึกษาดูงานที่เหมาะสม และการจัดให้ความรู้และระดมความคิดหาเพื่อค้นหาข้อสรุปในการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นรายกรณี ณ สถานประกอบการ สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้และเกิดการพัฒนาได้ ส่วนการออกแบบและพัฒนา นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดกาฬสินธ์สามารถ สรุปได้ว่า การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน มี 4 รูปแบบ คือ นวัตกรรมด้านเครื่องทุ่นแรงสนับสนุนการผลิต นวัตกรรมด้านการผลิต นวัตกรรมด้านการแปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และของใช้ และสุดท้าย คือ นวัตกรรมด้านการออกแบบ ซึ่งมีผลการประเมินจากวิพากย์ผลิตภัณฑ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตลาด/ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พบว่า ค่าคะแนนผลิตภัณฑ์ที่ ได้รับจากการพัฒนา 18 ผลิตภัณฑ์/กลุ่ม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ ดีมาก (ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.57 – 5.00) กิจกรรมทดสอบตลาด โดยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภค จำนวน 100 คน พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา 18 ผลิตภัณฑ์/กลุ่ม มีระดับความพึงพ ใจอยู่ในระดับ ดีมาก (ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.50 – 5.00) จำนวน 15 ผลิตภัณฑ์ และมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ ดี (ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.50 – 4.49) จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้น หลังการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้ประเมินผลลัพธ์การ ดำเนินงานจากกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยจำนวน 18 ราย พบว่า ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.83) จำแนกเป็นรายข้อ พบว่า ความพึงพอใจใน อันดับที่ 1 คือ ความพึงพอใจในภาพรวมของการพัฒนา ความพึงพอใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และความพึงพอใจการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับ ดีมาก (ค่าเฉลี่ย 5.00)
One thought on “การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์”
Comments are closed.