ผลการใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ต่อมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะเคมี และความสามารถในการเข้าใจความรู้ในชีวิตประจำวัน

Titleผลการใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ต่อมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะเคมี และความสามารถในการเข้าใจความรู้ในชีวิตประจำวัน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsอัจฉรีรัตน์ ศิริ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQD อ515ผ 2558
Keywordsการสอนวิทยาศาสตร์, พันธะเคมี--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), มโนมติวิทยาศาสตร์, เคมี--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), เทคนิคแบ่งกลุ่ม
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร้อยละและความก้าวหน้าของมโนมติที่ผิด คาดเคลื่อนถูกต้อง และเปรียบเทียบความสามารถในการเข้าใจความรู้ในชีวิตประจำวันก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ เรื่อง พันธะเคมี จำนวน 7 มโนมติ แบบแผนวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดมโนมติแบบปรนัยชนิดตัวเลือก 2 ลำดับขั้น แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์และสื่อการเรียนรู้ ได้แก่ บัตรแสดงพันธะ ชุดทดสอบการนำไฟฟ้า โมเดลโฟม และโมเดลลูกปิงปอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยและความก้าวหน้าทางการเรียน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ร่วมกับสื่อการเรียนมีมโนมติที่ถูกต้องเพิ่มเติม ในขณะที่มโนมติที่คาดเคลื่อนและมโนมติที่ผิดลดลง โดยร้อยละมโนมติหลังเรียนถูกต้องและความก้าวหน้ามากที่สุด คือ การเขียนสูตรและการเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ คิดเป็นร้อยละ 60.16 และ 45.32 ตามลำดับ ในขณะที่มโนมติหลังเรียนถูกต้องและความก้าวหน้าน้อยที่สุด คือ รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ คิดเป็นร้อยละ 14.16 และ 11.72 ตามลำดับ สำหรับแนวคำตอบที่คาดเคลื่อนมากที่สุดเปรียบเทียบทั้ง 7 มโนมติ พบว่า คาดเคลื่อนมากที่สุด คือ สมบัติของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์และโลหะ ความสามารถในการเข้าใจความรู้ในชีวิตประจำวัน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .05

Title Alternate Effects of student team achievement division technique to scientific concepts on chemical bonding and the activity to understand knowledge in daily life