วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Titleวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsบงกช คูณผล
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberLG บ113
Keywordsประสิทธิผลองค์การ, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, วัฒนธรรมองค์การ, สถาบันอุดมศึกษา
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบลักษณะของวัฒนธรรมองค์การ ระดับของประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่ปฏิบัติงานในคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ขนาดตัวอย่างจำนวน 289 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient)
ผลการศึกษา พบว่า
1) วัฒนธรรมองค์การภาพรวมของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอยู่ในระดับปานกลาง โดย วัฒนธรรมองค์การของทั้ง 3 กลุ่มสาขาวิชา อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 กลุ่มสาขาวิชา โดยมากที่สุด คือ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ รองลงมา คือ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์
2) ระดับประสิทธิผลขององค์การมีความสำเร็จตามเป้าหมายอยู่ในระดับมาก โดยประสิทธิผลขององค์การของทั้ง 3 กลุ่มสาขาวิชา กลุ่มสาขาวิชาที่มีความสำเร็จตามเป้าหมายมากที่สุดคือ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อยู่ในระดับมาก และกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ อยู่ในระดับปานกลาง
3) วัฒนธรรมองค์การของกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มีลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าวที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนลักษณะสร้างสรรค์และลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชาของกลุ่มสาขาวิชาทั้ง 3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีค่าคะแนนเฉลี่ยของวัฒนธรรมองค์การตามลักษณะสร้างสรรค์มากกว่ากลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมีค่าคะแนนเฉลี่ยของวัฒนธรรมองค์การตามลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชามากกว่ากลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ ตามลำดับ
4) วัฒนธรรมองค์การในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทิศทางบวก ในระดับปานกลางกับประสิทธิผลองค์การ เมื่อพิจารณาลักษณะย่อยในวัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การ พบว่า วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์ทิศทางบวกในระดับน้อยกับประสิทธิผลองค์การ ส่วนวัฒนธรรมองค์การลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา ไม่มีความสัมพันธ์กันในรูปเชิงเส้นกับประสิทธิผลองค์การแต่อย่างใด

Title Alternate Organizational cultures and effectiveness of the academics institutes: Ubon Ratchathani University