รูปแบบภาวะผู้นำที่มีต่อความผูกพันของพนักงาน : กรณีศึกษาสายธุรกิจสุกร ของบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Titleรูปแบบภาวะผู้นำที่มีต่อความผูกพันของพนักงาน : กรณีศึกษาสายธุรกิจสุกร ของบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsวรากร ถีสูงเนิน
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD ว296 2560
Keywordsความผูกพันต่อองค์กร, ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำ--การบริหาร, ภาวะผู้นำแบบชี้นำ, ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม, ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ
Abstract

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบภาวะผู้นำที่ส่งผลความผูกพันของพนักงาน : กรณีศึกษา สายธุรกิจสุกร ของบริษัทซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มพนักงานฟาร์มสุกร สายธุรกิจสุกรของบริษัทซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 203 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบระบบโควตาที่ฟาร์มสุกรของ บริษัทซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ทีเทส (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA หรือ F-test) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)
จากผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 34-41 ปี มีระยะเวลาปฏิบัติงานน้อยกว่า 3 ปี อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ระยะเวลาปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีผลต่อความผูกพันของพนักงานฟาร์มสุกรบริษัทซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านเพศ อายุ และภูมิลำเนาที่แตกต่างกันมีผลต่อความผูกพันของพนักงานฟาร์มสุกร บริษัทซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างไม่แตกต่างกัน 2) รูปแบบภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์กับความผูกพันของพนักงานฟาร์มสุกร บริษัทซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จและแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานฟาร์มสุกร บริษัทซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ส่วนผู้นำแบบชี้นำ และแบบสนับสนุนไม่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานพนักงานฟาร์มสุกร บริษัทซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Title Alternate Leadership affecting an employee engagement: a case study of swine business CPF (Thailand) public company limited in lower northeast area