วิธีฮิวริสติก GRASP สำหรับปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ กรณีศึกษา : โรงงานน้ำดื่มธารทิพย์

Titleวิธีฮิวริสติก GRASP สำหรับปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ กรณีศึกษา : โรงงานน้ำดื่มธารทิพย์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsนิรันดร์ สมมุติ
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberT น648ว
Keywordsการขนส่ง--โปรแกรมคอมพิวเตอร์, ฮิวริสติก
Abstract

งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีฮิวริสติกสำหรับปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ (Vehicle routing problem) ซึ่งเป็นปัญหาเอ็นพี-ฮาร์ด (NP-Hard) ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้วิธีฮิวริสติก Greedy Randomized Adaptive Search Procedure (GRASP) สำหรับการค้นหาคำตอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระยะทางร่วมต่ำสุด ภายใต้เงื่อนไขความต้องการสินค้าของลูกค้าแต่ละรายไม่แน่นอน และความจุของยานพาหนะมีจำนวนจำกัด กระบวนการทำงานของ GRASP แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระนะแรก เป็นการสร้างคำตอบเริ่มต้น (Initial solution phase) ซึ่งพิจารณาพื้นที่ของคำตอบที่เป็นไปได้ที่ไม่ขัดแย้งกับเงื่อนไข และระยะที่สองเป็นการปรับปรุงคุณภาพคำตอบ ผู้วิจัยกำหนดนโยบายการบรรจุสินค้าขึ้นบนยานพาหนะ 3 นโยบาย คือ นโยบายที่ 1 ใช้ค่าเฉลี่ยความต้องการสินค้าของลูกค้าแต่ละรายในการจัดสินค้า นโยบายที่ 2 พิจารณาใช้ค่าความต้องการสินค้าสูงสุดและต่ำสุดในการจัดสินค้า และนโยบายที่ 3 ขนส่งสินค้าเต็มคันรถทุกคัน ผลการทดสอบพบว่า นโยบายที่ 3 ให้ผลลัพธ์อยู่ในระดับที่ดีสุด สามารถลดระยะทางขนส่งจากเดิม 154.8 กิโลเมตรต่อวัน ลดลงเหลือ 120.5 กิโลเมตรต่อวัน มีสายส่งเกิดขึ้น 7 เส้นทาง และเมื่อพิจารณาถึงค่าโทษ (Penalty cost) ที่เกิดขึ้นจากการขนสินค้าเกินความต้องการและการขนสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าในเส้นทางขนส่งของนโยบายที่ 3 พบว่า ค่าโทษรวมที่เกิดขึ้นมีค่าเท่ากับ 1.65 บาท สามารถลดค่าใช้จ่ายจากค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจากเดิม 15,789.60 บาทต่อเดือนเหลือ 12,340.50 บาทต่อเดือน ลดลง 3,449.10 บาทต่อเดือน คิดเป็น 21.84% ของค่าน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมด

Title Alternate Grasp heuristic for vehicle routing problem case study: Thanthip factory of drinking water
Fulltext: