แนวทางการปรับปรุงการฝังกลบมูลฝอยของเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ

Titleแนวทางการปรับปรุงการฝังกลบมูลฝอยของเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsฉัตรฤดี ศิริลำดวน
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD795.7 ฉ235
Keywordsการกำจัดขยะ, การกำจัดของเสีย, การฝังกลบมูลฝอย, ขยะ, มูลฝอย, อำนาจเจริญ
Abstract

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์มูลฝอย ผลกระทบเบื้องต้นจากการกำจัดมูลฝอยเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการฝังกลบ โดยทดลองในห้องปฏิบัติการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มย่อยผู้เกี่ยวข้อง พบว่า มูลฝอยที่ต้องฝังกลบ 25 ตัน/วัน โดยภาพรวมการกำจัดยังไม่ถูกสุขลักษณะ มีสภาพของการเทกอง เกิดปัญหาแมลงวัน กลิ่น มูลฝอยฟุ้งกระจาย น้ำชะมูลฝอยไหลซึมในพื้นที่ฝังกลบ ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและการปนเปื้อนโลหะหนักจากตัวอย่างน้ำบ่อสังเกตการณ์ บ่อเก็บกักน้ำในพื้นที่ฝังกลบ และน้ำบ่อบาดาลในพื้นที่ฝังกลบและบริเวณรอบ ๆ ผลการวิเคราะห์ไม่พบการปนเปื้อนโลหะหนักในน้ำบาดาล และคุฯภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนน้ำจากบ่อสังเกตการณ์และน้ำจากบ่อเก็บกักน้ำมีค่า BOD และแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มสูง และพบตะกั่ว ทองแดง แมงกานิสในระดับที่แตกต่างกันแต่ไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน ส่วนการปนเปื้อนโลหะหนักในดินตัวอย่าง 3 จุด พบตะกั่ว ทองแดง เกือบทุกตัวอย่าง ยกเว้นตัวอย่าง ดินล่างของจุดที่ 2 พบแมงกานิสในดินจุดที่ 2 ทั้งสองชั้น และตัวอย่างที่ 3 พบเฉพาะดินชั้นบน โดยปริมาณที่พบในแต่ละชั้นไม่แตกต่างกันนัก เมื่อพิจารณาการไหลของน้ำพบว่า การปนเปื้อนโลหะหนักในน้ำและดินท้ายน้ำสูงกว่าตัวอย่างเหนือน้ำ ผลกระทบจากการกำจัดมูลฝอยต่อประชาชนทางบวกคือ สร้างอาชีพ รายได้ รักษาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบทางลบคือ เสี่ยงต่ออันตรายและเจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพ ความไม่สุขสบายจากแมลงวันและกลิ่นรบกวน มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ เนื่องจากมูลฝอยมีแนวโน้มสูงขึ้นและมีท้องถิ่นขอใช้พื้นที่ฝังกลบเพิ่มเติมจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่เทศบาลต้องปรับปรุงการจัดการโดยวิธีลดมูลฝอยด้วยหลัก 5R ควรปรับปรุงการฝังกลบ โดยกลบทับดินทุกวัน ส่งเสริมพนักงานทำความเข้าใจและปฏิบัติงานให้ถูกวิธี ระยะยาวควรวางระบบรวบรวมน้ำชะมูลฝอยและบำบัดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำและหมักปุ๋ยเสริมการฝังกลบเพราะมูลฝอยมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นมูลฝอยเปียก มีค่าความชื้นเหมาะสม (ร้อยละ 53) C/N ประมาณ 34:1 ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและให้ความรู้การจัดการมูลฝอยแก่ประชาชน

Title Alternate Sanitary landfill development for Amnatcharoen municipality