ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

Titleความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsนราภรณ์ สุระ
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberLB น238
Keywordsผู้บริหารสถานศึกษา--การบริหาร--ศรีสะเกษ, ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ศรีสะเกษ
Abstract

การศึกษา ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ประชาการได้แก่ ครู ระดับประถมศึกษาในเขตอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 300 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากตาราง Krejcie and Morgan จำนวน 170 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ใช้สถิติ t-test independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1) ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านการบริหารจัดการวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด
2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ครูที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์สอน และตำแหน่งหรือหน้าที่รับผิดชอบ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 แต่ครูที่มีระดับการศึกษาและขนาดของโรงเรียนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
3) ปัญหาการบริหารงานวิชาการที่พบมากที่สุด คือ ครูยังไม่สามารถนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์ การนำการประเมินผลมาพัฒนาผู้เรียนยังไม่เป็นรูปธรรม แนวทางแก้ไขพบว่าควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้อย่างต่อเนื่อง และจริงจังและส่งเสริมให้ครูนำผลการประเมินมาพิจารณาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน

Title Alternate Teachers' attitudes on academic administration of the school executives in Si Sa Ket primary educational service area office 2, Huai Thap Than, Si Sa Ket province
Fulltext: