การมีส่วนร่วมของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในระดับตำบลและหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการมีส่วนร่วมของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในระดับตำบลและหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsรักเกียรติ แย้มบางยาง
Degreeรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการปกครอง)
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHV ร282
Keywordsการมีส่วนร่วมของเจ้าพนักงาน, ตำรวจ--อุบลราชธานี--การทำงาน, พนักงานสอบสวน--อุบลราชธานี--การทำงาน, สถานีตำรวจภูธรวารินชำราบ, เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง
Abstract

การศึกษาการมีส่วนร่วมของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในระดับตำบลและหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความร่วมมือของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในระดับตำบลและหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความร่วมมือของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในระดับตำบลและหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานสถานีตำรวจภูธรวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อวิเคราะห์ความร่วมมือของพนักงานฝ่ายปกครองที่พบและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในระดับตำบลและระดับหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในเขตอำเภอวารินชำราบ ที่อยู่ในอำนาจการสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรวารินชำราบ ในตำบลคำน้ำแซบ และตำบลแสนสุข จำนวน 90 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง
ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้
1)การเข้ามามีส่วนร่วมของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ในระดับตำบลและหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านการช่วยเหลือแนะนำประชาชน (mean=4.26) สำหรับด้านการช่วยติดต่อประสานงานระหว่างประชาชนกับพนักงานสอบสวน (mean=4.06) และด้านการช่วยสืบสวนติดตามหาพยานหลักฐาน (mean=3.82) ตามลำดับ
2)การเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองกับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในระดับตำบล และหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนมีเพศที่แตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านไม่แตกต่าง
3) สรุปความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน พบว่า ด้านการรับแจ้งเหตุเบื้องต้น คือ การเต็มใจ เอาใจใส่การบริการ ควรให้ความรวดเร็วไปที่เกิดเหตุเมื่อได้รับแจ้งเหตุ (mean=41.33) ด้านการช่วยเหลือ แนะนำประชาชน คือ ความชอบธรรมในการปฏิบัติ (mean=32.94) ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ การให้บริการด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน (mean=39.33) ด้านการช่วยเหลือสืบสวนติดตามหาพยานหลักฐาน คือ ความรู้ความสามารถในการรวบรวมหลักฐาน (mean=31.82) ด้านการช่วยติดตามประสานงานระหว่างประชาชนกับพนักงานสอบสวน คือ กฎ ระเบียบ ขั้นตอนการให้บริการไม่ยุ่งยาก (mean=22.73)

Title Alternate Govermental officers' sub district and community corporation in toward the investigator's Warinchamrab station Ubonratchathani province
Fulltext: