การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนในเขตสัมปทานปลูกยางพาราของรัฐ : กรณีศึกษา กลุ่มบ้านพัฒนาเวียงคำ เมืองปากกะลิง แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว

Titleการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนในเขตสัมปทานปลูกยางพาราของรัฐ : กรณีศึกษา กลุ่มบ้านพัฒนาเวียงคำ เมืองปากกะลิง แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsสมพร แสงอะภัย
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD ส265ก
Keywordsการพัฒนาอุตสาหกรรม--ลาว, การเปลี่ยนแปลงทางสังคม--แง่เศรษฐกิจ--ลาว, นโยบายการค้า\zลาว, นโยบายอุตสาหกรรม--ลาว, ยางพารา--การค้า--ลาว, ยางพารา--แง่เศรษฐกิจ--ลาว
Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตของชุมชนภายหลังการเข้ามาของยางพารา และศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชน อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตของกลุ่มบ้านพัฒนาเวียงคำ เมืองปากกะดิง แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว ผลการศึกษาพบว่า การเข้ามาของยางพารามีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตของชุมชน กล่าวคือ เดิมวิถีการผลิตหลักของชุมชน คือ การทำไร่หมุนเวียน การทำนา และการเก็บหาของป่า ซึ่งเป็นรูปแบบการผลิตที่อาศัยธรรมชาติและมุ่งเน้นการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลักมีการแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างเครือญาติและเพื่อนบ้าน ข้าวจัดเป็นพืชหลักของชุมชนกระบวนการผลิตใช้แรงงานคนเป็นสำคัญ
ครั้นเมื่อรัฐมีนโยบายสัมปทานพื้นที่ของชุมชนทำสวนยางพารา ทำให้ภูเขา ป่าไม้ ที่ไร่ ที่นา ที่ทำกิน ของชุมชนจำนวนมากกลายเป็นพื้นที่ของรัฐ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเป็นสวนยางพารา ส่งผลให้ระบบการผลิตแบบยังชีพถูกแทนที่ใหม่ด้วยพืชเศรษฐกิจพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐที่เน้นการผลิตเพื่อการค้า การให้สัมปทานแก่นายทุนเข้ามาปลูกยางพารา ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางการผลิตระหว่างนายทุนกับชาวบ้านในลักษณะของนายจ้างกับลูกจ้าง

Title Alternate The changing way of life of the villege in the rubber contesting area: a case study of Viengkham village, Pakkhading district, Bolikhamxai province, Lao PDR
Fulltext: