ภาษาถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี

Titleภาษาถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2539
Authorsจันทิมา เอียมานนท์, สุมนา อินทร์คำน้อย
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberPL4195.อ834 จ285
Keywordsกุย, กุลา, ข่า, บรู, ภาษาถิ่น--อุบลราชธานี, ส่วย
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสภาพการใช้ภาษาของกลุ่มเชื้อสายต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ กลุ่มชนถิ่นเชื้อสายไทย-ลาว เขมร บรูหรือข่า กุยหรือส่วย และกุลา ผลการวิจัยด้วยการวิเคราะห์คำศัพท์พบว่า ผู้ใช้ภาษาทั้ง 2 ระดับอายุในหมู่บ้านเดียวกันมีการใช้คำศัพท์ที่เหมือนกันและต่างกัน การใช้คำศัพท์ที่ต่างกันนั้น จะมีลักษณะคำศัพท์ที่ต่างกันทั้งหมด และต่างกันเป็นบางส่วน ซึ่งเป็นการต่างกันบางส่วนที่จำนวนพยางค์ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ทางด้านสภาพการใช้ภาษา พบว่า ผู้ใช้ภาษาทั้งสองระดับอายุ ยังคงใช้ภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชนของตน ผู้ใช้ภาษาที่มีระดับอายุ 11-20 ปี จะใช้ภาษากลุ่มชนของตนมากกว่าผู้ใช้ภาษาที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยกลุ่มชนเชื้อสายไทย-ลาว จะใช้ภาษาไทยถิ่นกลางมากที่สุด ส่วนกลุ่มชนอื่น ๆ จะใช้ภาษาไทยอีสานมากกว่าภาษาไทยถิ่นกลาง และกลุ่มชนเชื้อสายกุลาใช้ภาษาของชาวกุลาได้น้อยที่สุด

Title Alternate The research program of dialect in Ubonratchathani province