การศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบบีบแยกส่วนประกอบโลหิตในอุตสาหกรรมสุขภาพ

Titleการศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบบีบแยกส่วนประกอบโลหิตในอุตสาหกรรมสุขภาพ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2564
Authorsวรวิทย์ สงวนพันธ์
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsการแยกเลือด, อุตสาหกรรมสุขภาพ, เครื่องบีบแยกส่วนประกอบโลหิต
Abstract

วิทยานิพนธ์เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ระบบวัดและประเมินกระบวนบีบแยกส่วนประกอบในห้องปฏิบัติการเตรียมส่วนแยกของเลือด คลังเลือดกลาง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบว่าปัญหาหลักในกระบวนการบีบแยกเลือด ได้แก่ เครื่องจักรใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพใช้งานไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงทุนประกอบกับเครื่องจักรมีความซับซ้อนในการใช้ มีราคาแพง และมีเงื่อนไขการใช้งานที่จำกัดผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมมาช่วยในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา หาต้นเหตุปัญหา และได้แนวทางการแก้ไขปัญหารวมทั้งเลือกแนวทางที่เหมาะสมมาใช้อย่างเป็นระบบวิธีการดำเนินการวิจัย เริ่มจากการรวบรวมปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบพัฒนาเครื่องบีบแยกส่วนประกอบของเลือด โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมในการระดมสมองและมีการยืนยันผลการวิจัยที่ถูกต้อง จากนั้นนำปัจจัยที่ได้ไปจัดกลุ่มและเป็นปัจจัยหลักและปัจจัยรอง พร้อมกลั่นกรองปัจจัยดังกล่าวให้มีความสอดคล้องตรงประเด็นและสามารถนำไปใช้งาน จากนั้นนำไปสู่กระบวนออกแบบและพัฒนาโดยประยุกต์หลักการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD) ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP) โดยการแปลงความต้องการซึ่งหาได้จากปัจจัยข้างต้นโดยนำมาจัดลำดับความสำคัญโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งต้องเป็นความต้องการของลูกค้า/ผู้บริโภค ซึ่งเป็นเสาที่ 1 ของบ้านคุณภาพ จากนั้นผู้วิจัยได้แสดงวิธีการประยุกต์ใช้ QFD อย่างเป็นขั้นตอน จนได้แบบพิมพ์เขียวและนำมาสู่เครื่องต้นแบบ นำเครื่องต้นแบบไปตรวจสอบความถูกต้องโดยนำเครื่องต้นแบบไปใช้งานและให้ผู้ใช้งานได้ประเมินคุณลักษณะของเครื่องต้นแบบว่าเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า (เริ่มต้น) มากน้อยเพียงใดจากการวิเคราะห์เพื่อยืนยันผลความถูกต้องของเครื่องบีบแยกส่วนประกอบของเลือดที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าคะแนนความพึงพอใจต่อคุณลักษณะเครื่องต้นแบบที่มีระดับสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ง่ายต่อการทำความสะอาด 2) สามารถตรวจเช็คการปนเปื้อนของเม็ดเลือดแดงได้แม่นยำ 3) มีระบบการตรวจจับปริมาณพลาสมา 4) ลดระยะเวลาในการทำงาน 5) สามารถควบคุมการทำงานง่าย (ไม่ซับซ้อน) ผลการยืนยันการตรวจสอบความถูกต้องบ่งบอกถึงการออกแบบและการพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เครื่องต้นแบบมีราคาลดลงร้อยละ 50 น้ำหนักของเครื่องลดลงร้อยละ 50 มีการใช้งานที่สะดวกไม่ซับซ้อน มีความคุ้มค่าต้องใช้งานทั้งการซื้อเริ่มแรกและการบำรุงรักษา มีความง่ายในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งในการทำงาน

Title Alternate Study and development of the prototype equipment for blood separator in healthy industry