ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการบริจาคโลหิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Titleปัจจัยทำนายความตั้งใจในการบริจาคโลหิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsสุภาพร ช่างคำ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- การบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRM ส838ป 2560
Keywordsการบริจาคโลหิต, ผู้บริจาคโลหิต
Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (a cross-sectional descriptive study) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความตั้งใจในการบริจาคโลหิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี พฤติกรรมตามแผน (Theory of planned behavior) เพื่อใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมการบริจาคโลหิตของกลุ่มประชากรนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 240 คน เก็บข้อมูลในชั้นเรียนด้วยแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นตามทฤษฎี พฤติกรรมตามแผนในช่วงภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการอธิบายคุณลักษณะกลุ่มตัวอย่างและองค์ประกอบของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน และใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (multiple linear regression analysis) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความตั้งใจในการบริจาคโลหิต กับ 1) ทัศนคติ 2) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง 3) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม 4) เพศ 5) ความรู้ 6) ประสบการณ์ในการบริจาคโลหิต และ 7) กลุ่ม สาขาวิชาที่ศึกษากำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง และประมาณ ครึ่งหนึ่งไม่เคยบริจาคโลหิต ผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิตของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 5.4 ± 2.4 คะแนน(คะแนนเต็ม 10 คะแนน) และมีคะแนนเฉลี่ยขององค์ประกอบตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนทั้งสามองค์ประกอบในระดับสูง ดังนี้ ทัศนคติ (6.2 ± 0.8) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (6.4 ± 0.7) และการรับรู.ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม (5.9 ± 1.5) และมีระดับความตั้งใจในการบริจาคโลหิตอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 4.8 ± 2.0 (คะแนน เต็ม 7 คะแนน) ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ พบว่าองค์ประกอบของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ทั้งสามองค์ประกอบ เป็นปัจจัยที่มีอำนาจในการทำนายความตั้งใจในการบริจาคโลหิตอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (การวัดทางอ้อม: model adjusted R2 = 0.246) และเมื่อพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย พบว่า การมีประสบการณ์บริจาคโลหิตช่วยเพิ่มอำนาจในการทำนายความตั้งใจในการบริจาคโลหิตได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (การวัดทางอ้อม: model adjusted R2 = 0.385) โดยในภาพรวมการมีประสบการณ์
บริจาคโลหิตเป็นปัจจัยที่มีอำนาจในการทำนายมากที่สุด

Title Alternate Factors predicting intentions to donate blood among students of Ubon Ratchathani university