ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

Titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsพัทธนันท์ ท้าวด่อน
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA พ543 2560
Keywordsประกันสุขภาพ, ประกันสุขภาพ--การดำเนินงาน, ประกันสุขภาพ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
Abstract

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่ง ทดลอง (a quasi – experimental research) แบบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มวัดซ้ำก่อนและหลังการ ทดลอง (two-group pretest – posttest design) โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม ทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกัน สุขภาพระดับท้องถิ่นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับโปรแกรม ช่วงเวลาที่ศึกษาอยู่ ระหว่างเดือนกันยายน 2558 ถึง มีนาคม 2559 โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกิจกรรมตามที่กำหนดของโปรแกรมเป็นเวลา 1 วัน ก่อนเริ่มดำเนินงานตามปกติของกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2559 ในการ เปรียบเทียบผลของโปรแกรมนั้น กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะถูกประเมินระดับการมีส่วนร่วมด้วย แบบสอบถามในช่วงเวลาก่อนที่กลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกิจกรรมตามที่กำหนดของโปรแกรม (pre-intervention) และประเมินซ้ำอีกครั้งหลังจากนั้น 6 เดือน (post-intervention) ทั้งนี้ผลการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของกองทุนฯ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การมีส่วนร่วมคิด 2) การมีส่วนร่วมตัดสินใจ 3) การมีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรม และ 4) การมีส่วนร่วมติดตาม ประเมินผล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายคุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และใช้สถิติเชิงอนุมาน paired t–test เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระดับการมีส่วนร่วมก่อนและหลังให้ โปรแกรมในกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน และใช้สถิติ independent t–test เปรียบเทียบคะแนนระดับการมี ส่วนร่วมก่อนหรือหลังระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการศึกษา จัดเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 50 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีคะแนนการมีส่วนร่วมก่อนการทดลองในระดับน้อย และไม่แตกต่างกัน ในขณะที่หลังการได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนระดับการมีส่วนร่วมในการ ดำเนินงานกองทุนฯโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น สามารถนำไปใช้ได้โดยประยุกต์กิจกรรมใน โปรแกรมให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายต่อไป

Title Alternate Effect of the program to promote people's participation in local health insurance fund operation