การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเข้าใจที่คงทน เรื่อง โมล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างเทคนิคการสร้างผลสัมฤทธิ์ของทีมกับแบบบรรยาย

Titleการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเข้าใจที่คงทน เรื่อง โมล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างเทคนิคการสร้างผลสัมฤทธิ์ของทีมกับแบบบรรยาย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsณิวุฒิ จงสร้อย
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQD ณ449ก 2556
Keywordsการสอน, การสอนวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เคมี--การศึกษาและการสอน
Abstract

งานวิจัยครั้งนี้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเข้าใจที่คงทน ความก้าวหน้าทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง โมล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 กลุ่ม ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แตกต่างกัน กลุ่มที่ 1 ได้สอนด้วยเทคนิคการสร้างผลสัมฤทธิ์ของทีม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งสอนแบบบรรยาย แบบแผนการวิจัยคือ แบบอนุกรมเวลาที่มีกลุ่มควบคุมครูจำนวน 1 คน สอน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 32 คนของโรงเรียนท่านางแนววิทยายน จังหวัดขอนแก่น นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีคะแนนสอบก่อนเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสร้างผลสัมฤทธิ์ของทีมและแบบบรรยาย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ถูกวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยข้อมูล 2 ชุด ที่เป็นอิสระต่อกันและความก้าวหน้าทางการเรียน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการสร้างผลสัมฤทธิ์ของทีมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ความเข้าใจที่คงทน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความก้าวหน้าทางการเรียนเรื่อง โมล ของกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสร้างผลสัมฤทธิ์ของทีมเท่ากับ 0.63 มากกว่านักเรียนกลุ่มบรรยายได้ค่าเท่ากับ 0.42 โดยมีความก้าวหน้าอยู่ในระดับปานกลางทั้งสองกลุ่ม นักเรียนกลุ่มสร้างผลสัมฤทธิ์ของทีมมีความพึงพอใจในด้านการจัดการเรียนรู้มากกว่ากลุ่มบรรยาย จากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจสรุปได้ว่าห้องเรียนที่เรียนด้วยเทคนิคการสร้างผลสัมฤทธิ์ของทีมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้เรื่อง โมล ได้มากกว่าแบบบรรยาย

Title Alternate Comparison of academic achievement and retention in mole of eleventh graders between students team achievement divisions and lecture-based learning
Fulltext: