การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้ระเบียบของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

Titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้ระเบียบของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsสุรวุฒิ เหล่าจูม
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJS ส853ก 2558
Keywordsการจัดทำแผนพัฒนา, การวางแผนระดับตำบล--อุบลราชธานี--การมีส่วนร่วมของประชาชน, องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดง (อุบลราชธานี)--การวางแผน--การมีส่วนร่วมของประชาชน, แผนพัฒนาท้องถิ่น
Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดง ภายใต้ระเบียบของรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ 2)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดง ภายใต้ระเบียบของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมทั้งเจ้าหน้าที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดงทั้งหมด 34 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบวิธีการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดง ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการเริ่มต้นในการจัดทำแผนเท่านั้น คือ กระบวนการสำรวจข้อมูลปัญหา ความต้องการของชุมชนเท่านั้น แต่กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาส่วนใหญ่จะผ่านตัวแทนหรือผู้นำชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องเท่านั้น การจัดเวทีประชาคมกลายเป็นเสมือนพิธีการที่แสดงให้เห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลได้เปิดโอกาวให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมองข้ามประเด็นเนื้อหาในการจัดทำแผนที่เกิดจากความต้องการของประชาชน รวมทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตาม การประเมินผลการปฏิบัติตามแผนก็ผ่านเพียงตัวแทนของประชาชน ด้านปัญหาและอุปสรรคต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดง พบว่า ประชาชนไม่ให้ความสนใจในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ถ้าสิ่งนั้นไม่ส่งผลกระทบตัวเอง และประชาชนไม่กล้าที่จะสดงความคิดเห็น หรือเสนอแนะประเด็นใหม่ ๆ ในที่ประชุม ส่วนใหญ่จะมีแกนนำ ตัวแทนหรือผู้นำท้องถิ่น และในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาการตัดสินใจบรรจุโครงการในแผนส่วนใหญ่ยังคงเป็นเจ้าหน้าที่คณะกรรมการจัดทำแผน ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติตามแผน ข้อเสนอของชุมชนส่วนใหญ่ที่ได้รับบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาสามปี มักจะเน้นระบบสาธารณูปโภคและเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การซ่อมถนน ท่อระบายน้ำการก่อสร้าง ฯลฯ มากกว่าโครงการทางด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

Title Alternate People participation in the preparation of the local government's three-years development plan: a case study of Don Mot Daeng Tumbol administration, Don Mot Daeng District, Ubon Ratchathani Province under the national council for peace and order