การปรับปรุงกำลังรับแรงเฉือนของดินลูกรังด้วยการผสมซีเมนต์และไฟเบอร์

Titleการปรับปรุงกำลังรับแรงเฉือนของดินลูกรังด้วยการผสมซีเมนต์และไฟเบอร์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsอดิศักดิ์ เจริญพงษ์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTE อ129
Keywordsกำลังรับแรงเฉือน, ซีเมนต์, ดินซีเมนต์, ดินลูกรัง, ไฟเบอร์
Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังให้สามารถนำมาใช้งานชั้นพื้นทางของถนนได้ (แทนหินคลุก) ด้วยการผสมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และเส้นใยประเภท เส้นใยสังเคราะห์ไนล่อน การปรับปรุงคุณภาพ ทำให้ดินลูกรังมีค่ากำลังรับแรงอัดทิศทางเดียว เพิ่มสูงขึ้นได้ ตามมาตรฐานพื้นทางดินซีเมนต์โดยมีค่ากำลังรับแรงอัดทิศทางเดียว (สำหรับตัวอย่างชุ่มน้ำ) อย่างน้อย 17.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามมาตรฐานพื้นทางดินซีเมนต์ของกรมทางหลวง ในการศึกษาใช้ดินลูกรัง มาทำการปรับปรุง โดยผสมปูนซีเมนต์ และเส้นใยสังเคราะห์ในอัตราส่วนต่าง ๆ โดยน้ำหนัก เพื่อคัดเลือกปริมาณปูนซีเมนต์และเส้นใยสังเคราะห์ในอัตราส่วนต่าง ๆ โดยน้ำหนัก เพื่อคัดเลือกปริมาณปูนซีเมนต์ และเส้นใยสังเคราะห์ที่เหมาะ โดยใช้ค่ากำลังรับแรงอัดทิศทางเดียวเป็นเกณฑ์ จากนั้น ตัวอย่างของดินปรับปรุง (เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตร) ถูกเตรียมที่ปริมาณปูนซีเมนต์ และเส้นใยสังเคราะห์ที่เหมาะสมแล้ว ทดสอบกำลังรับแรงอัดสามแกนที่แรงดันรอบตัวอย่่างแตกต่่างกันเพื่อศึกษาอิทธิพลของเส้นใยเสริมกำลังในดินซีเมนต์ ผลการทดสอบพบว่าดินลูกรังไม่ปรับปรุง มีค่ากำลังรับแรงอัดทิศทางเดียว 6.75 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานพื้นทางเดินซีเมนต์ สำหรับดินปรับปรุงที่ผ่านมาตรฐานชั้นพื้นทาง คือ ดินปรับปรุงที่ใช้ปริมาณซีเมนต์ที่ร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก และไฟเบอร์อย่างน้อยร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก และเมื่อผสมปริมาณซีเมนต์ที่ร้อยละ 5 และสูงกว่า จะใช้ไฟเบอร์อย่างน้อยร้อยละ 0.05 วัสดุปรับปรุงก็จะสามารถใช้เป็นวัสดุพื้นทางได้

Title Alternate Shear strength improvement of leteritic soils by using cement and fibers
Fulltext: