พฤติกรรมและเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี

Titleพฤติกรรมและเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsเบญจวรรณ ตั้งสกุล
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTK6570.M6 บ788พ
Keywordsพฤติกรรมผู้บริโภค--อุบลราชธานี, เครือข่ายทางสังคม, โทรศัพท์เคลื่อนที่, โทรศัพท์เคลื่อนที่--การจัดซื้อ, โทรศัพท์เคลื่อนที่--นักศึกษา
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายในของนักศึกษาและปัจจัยภายนอกจากสิ่งที่มากระตุ้นส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อและการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกลุ่มนักศึกษาในการตัดสินใจซื้อ และใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยจำแนกตามเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยของนักศึกษา ระดับการศึกษา สาขาวิชาที่ศึกษา อาชีพผู้ปกครอง รายได้ผู้ปกครอง 3)เพื่อศึกษาเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมและนักศึกษาที่เกิดขึ้นหลังจากใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีที่กำลังศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 360 คน โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบ แบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ้มนักศึกษาจำนวน 2 กลุ่ม คือ เพศชายหนึ่งกลุ่ม จำนวน 12 คน เพศหญิงหนึ่งกลุ่ม จำนวน 10 คน รวมทั้งหมดจำนวน 22 คน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และค่า F-test
ผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาส่วนใหญ่เพศชาย มีอายุเฉลี่ย 19-20 ปี มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนต่ำกว่า 3,000 บาท คิดเป็น ร้อยละ 74.44 ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร/ ทำนา คิดเป็นร้อยละ 22.22 มีรายได้ระหว่าง 4,001-7,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 30.28 และนักศึกษาส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) คิดเป็นร้อยละ 52.78 นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในกลุ่มสาขาช่างยนต์ สาขาช่างกลโรงงาน สาขาช่างเทคนิคโลหะ สาขาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขาช่างก่อสร้าง สาขาช่างโยธา และสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาขาละเท่า ๆ กัน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่จะใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน Pre Paid (ซื้อบัตรเติมเงิน) ใช้บริการเครือข่ายดีแทค ยี่ห้อหรือตราโนเกีย เลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพราะเป็นเทคโนโลยีทันสมัย โดยใช้ในช่วงเวลาระหว่าง 18.01-24.00 น. มีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อกับครอบครัวและญาติ ค่าใช้จ่ายในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เฉลี่ยเดือนละ 300-500 บาท ซึ่งนักศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้บริการโทนศัพท์เคลื่อนที่เอง ซึ่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้จะมีลักษณะจอสี เวลาพูดคุยโทรศัพท์แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 1-5 นาที และส่วนใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบดีแทค เริ่มใช้น้อยกว่า 6 เดือน จะเปลี่ยนไปตามโปรโมชั่น
พฤติกรรมทางด้านปัจจัยภายในของผู้ใช้บริการเองที่ทำให้นักศึกษาเลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เป็นมูลเหตุช่วยในการตัดสินใจซื้อและใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ พบว่าโดยรวมนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามมูลเหตุในการตัดสินใจซื้อและใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ในระดับปานกลาง พบว่า ด้านแรงจูงใจ โดยรวมผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีแรงจูงใจในการตัดสินใจซื้อและใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ในระดับปานกลาง
พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามมูลเหตุช่วยในการตัดสินใจซื้อและใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้านแรงจูงใจ ด้านการรับรู้และด้านการเรียนรู้ ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี จำแนกตามเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยของนักศึกษา อาชีพของผู้ปกครอง รายได้ของผู้ปกครอง ระดับการศึกษา และสาขาวิชาที่ศึกษา พบว่า นักศึกษาที่มีปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลแตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามมูลเหตุในการตัดสินใจซื้อและใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งโดยรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ไม่แตกต่างกัน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของวัยรุ่นกับกลุ่มต่าง ๆ พบว่า วัยรุ่นมีพฤติกรรมเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อพ่อแม่มากที่สุด กับรองลงมาคือกลุ่มเพื่อน ๆ เนื่องจากทำกิจกรรมกลุ่มได้ง่าย เพราะระบบที่ใช้จะเป็นระบบเติมเงินซึ่งสะดวกสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้

Title Alternate A study of vocational students behavior and social networking relationship to their use of cell phones : a case study of Ubonratchathani technical college students