สารจากศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ 2542

เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย 29 กรกฎาคม 2542

วันที่ 29 กรกฎาคม เมื่อ 9 ปีก่อน คือ พ.ศ. 2533 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้นับการสถปนาขึ้นตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ณ พื้นที่ตั้งในปัจจุบันซึ่งเดิมเป็นวิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ท่านผู้บุกเบิกงานก่อตั้งนำโดยอธิการบดีคนแรก รศ.ดร. สมจิตต์ ยอดเศรณี ได้สร้างงานต่อจากวิทยาลัยเดิมด้วยความวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง แม้กำลังคนจะมีน้อย กำลังเงินจะมีไม่มากเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยที่สร้างใหม่หลาย ๆ แห่ง แต่ผลงานที่ได้สืบสานติดต่อกันมาจนถึงวันนี้เป็นสิ่งที่สมาชิกของมหาวิทยาลัย และทุกๆ ท่านที่ได้มีส่วนในการสนับสนุน ส่งเสริม มหาวิทยาลัยควรภูมิใจ

จึงเป็นการสมควรที่เราจักได้รำลึกถึง และขอบพระคุณทุก ๆ ท่านที่ได้มีส่วนช่วยสร้าง และส่งเสริมงานของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งท่านที่มีส่วนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากทางราชการส่วนกลาง และส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จากทางภาคเอกชนและฝ่ายการเมืองของจังหวัดอุบลราชธานี และจากจังหวัดเพื่อนบ้านใกล้เคียงอีกหลาย ๆ จังหวัด อีกทั้งทุกท่านที่ได้เมตตาสนับสนุน ช่วยเหลือ ประคับประคองส่งเสริมกิจการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีไว้ ณ ที่นี้

          ในวันนี้ กระผมขอเชิญชวนให้บรรดาสมาชิกของมหาวิทยาลัยฯ ได้มองสู่อนาคตว่าเราอยากช่วยกันทำให้มหาวิทยาลัยของเราเป็นเช่นไร?

การมองอนาคตนั้นต้องดูพื้นฐานของเราวันนี้เป็นฐานสำหรับก้าวต่อไป ฐานของเรามีที่ดิน มีอาคาร มีบุคลากรสายวิชาการ และสนับสนุนวิชาการ มีนักศึกษา มีหลักสูตรที่ได้ทำการเรียนการสอนอยู่ใน 6 คณะวิชา มีงานวิจัยและพัฒนา มีงานบริการแก่สังคมและชุมชน กับมีไขปัญหาที่ต้องช่วยแก้ไขเพื่อให้เราสามารถเดินหน้าต่อไป โดยไม่สะดุดเสียกลางคัน

          นอกจากนั้นฐานของมหาวิทยาลัยฯ ที่สำคัญยิ่งอีกด้านหนึ่งมาจากภายนอกได้แก่ความหวังดี และการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐและการเมือง ทั้งภาคเอกชนและชุมชนทั้งใกล้และไกลกัน มาจากผู้อุปถัมภ์งานของมหาวิทยาลัยฯ ในด้านต่าง ๆ หลากหลาย

ปีนี้เป็นปีที่ต้องร่วมกันแก้ปัญหาสำคัญๆ หลายประการ

  • ข้อแรก คือ ที่ดิน มหาวิทยาลัยฯ เป็นผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าสงวนในความดูแลของกรมป่าไม้เป็นเวลา 30 ปี ซึ่งต่อสัญญาได้ เราจึงเป็นผู้ครอบครองที่ดินสาธารณะแต่ไม่ใช่เจ้าของโดยกฎหมาย ไม่เหมือนบุคคลหรือนิติบุคคลทั่วไป ข้อนี้ไม่เป็นปัญหา ปัญหาคือยังมีผู้อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 2 แปลง ในพื้นที่ที่แผนที่ระบุว่ากรมป่าไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยฯ ใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา ฉะนั้นจึงยังคงมีข้อขัดแย้งค้างอยู่ให้ต้องแก้ไขโดยกระบวนการของกฎหมาย
  • ข้อสอง คือ การงบประมาณด้านค่าสาธารณูปโภค โดยนโยบายของรัฐ แล้วงบประมาณเพื่อจ่ายค่าไฟฟ้าที่เราใช้จะต้องถูกลดลงที่ละน้อย ในขณะที่เราขยายการใช้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว ปีนี้จะมีอาคารที่ก่อสร้างเสร็จใหม่ให้ใช้งานอีกหลายอาคาร ทุกอาคารต้องใช้ไฟฟ้า ฉะนั้นหนี้สินค่าไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยฯ จะมากขึ้น และเนื่องจากมหาวิทยาลัยน เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ในจังหวัดอุบลราชธานี ขณะนี้เป็นที่สองรองจากห้างแมคโคร แต่คาดการณ์ไว้ว่ามหาวิทยาลัยฯ จะครองอันดับหนึ่งในปีนี้แน่นอน อัตรารวมค่าใช้กระแสไฟฟ้าต่อยูนิตที่มหาวิทยาลัยฯ ต้องจ่าย สูงกว่าอัตราค่าไฟฟ้าของบ้านพักอาศัยภายนอกประมาณ 7-8 เท่าตัว เพราะต้องถูกบวกด้วยตัวคูณเพิ่ม ฉะนั้น สิ่งแรกที่สมาชิกทุกคนจะช่วยได้ คือ การประหยัดการใช้กระแสไฟฟ้า ใช้ แต่เมื่อจำเป็น ใช้เท่าที่จำเป็นจริง ๆ หากทำได้คนละเล็กคนละน้อย รวมกันแล้วจะช่วยได้มากยิ่ง
  • ข้อสาม คือ ที่พักอาศัยทั้งหอพักนักศึกษา ห้องพักบุคลากร และการส่งเสริมให้บุคลากรได้มีโอกาสเป็นเจ้าของบ้านของตนเอง ขณะนี้มหาวิทยาลัยฯ มีหอพักนักศึกษารับได้ 1,000 คน และมีนักศึกษาเช่าหอพักอยู่ข้างนอกอีก 2,000 คน  โดยประมาณ เราถือนโยบายที่จะให้ความสะดวก และประหยัดแก่นักศึกาชั้นปีที่ 1 และนักศึกษาที่มีข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมกิจการหอพักส่งนบุคคล รอบๆ วิทยาเขตให้มีคุณภาพเหมาะสมกับอัตราค่าเช่า โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ  ในการเช่าที่ยุติธรรมแก่ทั้งผู้เช่าและเจ้าของผู้ลงทุน ฉะนั้นมหาวิทยาลัยฯ จะพยายามพัฒนาเรื่องบริการหอพักในทิศทาง และเป้าหมายที่กล่าวนี้ ในด้านห้องพักบุคลกร มหาวิทยาลัยฯ ตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ที่บุคลากรแต่ละท่านต้องประสบ แต่จะไม่สามารถจัดสร้างที่พักให้ทุก ๆ คนอยู่ได้จนเกษียณอายุ เพราะถ้ามีห้องพักภายในวิทยาเขตที่สามารถพักอาศัยได้จนเกษียณอายุ ผู้อยู่ห้องพักจนเกษียณอายุจะประสบความทุกข์หนักในบั้นปลาย นโยบายจีงต้องยึดทางสายกลาง คือ อำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรที่เพิ่งเริ่มชีมวิตการทำงาน และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ได้ผ่านการทำงานไปแล้วระยะหนึ่ง และตนเองมีกำลังซื้อมากขึ้นให้ได้มีโอกาสกู้เงินเพื่อสร้างบ้านหรือเช่าซื้อบ้านเป็นของตนเองในทำเลที่พอใจ จุดเปลี่ยนน่าจะถืออายุเป็นตัวคิดว่าแต่ละคนควรจะตั้งตนหาบ้านส่วนตัวเมื่อใด วึ่งน่าจะเป็นช่วงอายุ30 – 35 ปี ขณะนี้ธนาคารกรุงไทยซึ่งดูแลเงินกองทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำของรัฐบาล สามารถที่จะพิจารณาคำขอกู้เพื่อปลูกสร้างหรือเช่าซื้อบ้านได้อีกครั้งหนึ่ง
  • ข้อสี่ คือ ปัญเรื่องความปลอดภัยในทรัพย์สินในรั้ววิทยาลัยฯ ของเรา มหาวิทยาลัยฯ ได้ว่าจ้างบริษัท รปภ. เพื่อดูแลความปลอดภัยนี้ แต่การที่เจ้าหน้าที่ รปภ. จะทำงานได้ผลดีนั้นต้องการพวกเราต้องให้ความร่วมมือจากพวกเรา วิทยาเขตมีอาณาเขตบริเวณกว้างขวาง ลำพัง รปภ. แต่ฝ่ายเดียวนั้นงานคงล้นมือ เพราะหน้าที่หลักของเขาคือ อารักขาความปลอดภัยแก่สถานที่และทรัพย์สินของราชการ พ่วงด้วยความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคลากร สมาชิกของมหาวิทยาลัยฯ จึงจะต้องช่วยด้วย ในขั้นต้นคือ ช่วยโดยการไม่ประมาท จัดระเบียบดูแลของส่วนตัวมิให้ล่อใจมิจฉาชีพ ขั้นต่อไปคือ ช่วยใส่ใจเพื่อนห้องข้างเคียง ช่วยเตือน ช่วยป้องกันช่วยเหลือตามกรณีที่อยู่ในวิสัยจะช่วยกันได้ ไม่ดูดาย ขั้นต่อไปคือการร่วมมือช่วย รปภ. บ้างในการเตือนภัยที่อาจเกิดได้ อย่ารอให้ผู้บังคับเป็นผู้เตือนแต่ฝ่ายเดียว อย่างนั้นอาจสายเกินไป
  • ข้อห้า คือ ปัญหาเรื่องสิทธิและหน้าที่ ปัญหาเกิดจากการถือเอาแต่สิทธิ์ไม่กำกับด้วยหน้าที่และวินัย ฉะนั้น จึงมีกรณีตัวอย่างที่อันตราย เช่น การยอมให้ลูกจ้างบริษัทผู้รับเหมาตัดรั้ว หรือปีนรั้วเข้าออกเป็นการเปิดทางแก่การโจรกรรมหรือแม้อาชญากรรมได้ง่าย การทำตัวอย่างนำร่องแก่อาชญากรให้เข้ามาในวิทยาเขตโดยสะดวก เพราะบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ เป็นผู้ปูทางเปิดทางไว้เสียเอง โดยถือเอาความสะดวกส่วนตัวเหนือกว่าประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น
  • ข้อหกป็นเรื่องส่วนบุคคลของบุคลากรบางท่าน แต่ย่อมจะกระทบถึงภาพพจน์ส่วนรวม เช่น การก่อหนี้สินล้นพ้นตัวจนไม่อาจชำระหนี้รายเดือนให้ครบถ้วนได้ตามสัญญาที่รับรอง ต้องประสบความลำบากทั้งแก่ตนเองและแก่ครอบครัวเป็นอันมาก สิ่งนี้หากเกิดโดยพลาดพลั้ง  เพื่อนร่วมงานยังให้อภัย แต่หากเกิดซ้ำซากโดยเจตนาก็หมดความนับถือจากเพื่อนร่วมงาน และสถาบันเองก็อาจถูกมองด้วยความรู้สึกที่ดูแคลนจากวงการภายนอก เช่น ธนาคารต่าง ๆ จึงช่วยแก้ปัญหานี้ แต่เมื่อสมาชิกไม่ระมัดระวังในการบริหารการเงินของตนเองแล้ว จะไปบริหารเงินฝากของเพื่อนสมาชิกได้อย่างไร การกู้ยืมเงินตัวจากสหกรณ์ออมทรัพย์โดยใช้ช่องโหว่ของกฎระเบียบเป็นหนทางที่นำไปสู่ความล้มเหลวในชีวิตได้แน่นอน ในประเด็นนี้จึงจำเป็นต้องขอเตือนใจบางท่านไว้ว่าในระเบียบข้าราชการ การมีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องถูกให้ออกจากราชการได้ จึงขอวิงวอนสมาชิกบางท่านที่ผิดพลาดในการบริหารการเงินได้หาหนทางแก้ไขโดยเร็ว เพื่ออนาคตของตัวท่านเองและครอบครัว และเพื่อศักดิ์ศรีของเพื่อนร่วมงานด้วย

ขอจงช่วยกันประหยัด รักษาความสามัคคี และความมีน้ำใจเพื่อส่วนรวม เพื่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีของเรา

ข้อมูล : 72 ปี ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ. 2546. หน้า 65