ผลการให้สุขศึกษาต่อการปรับความรู้ และพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกรอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

Titleผลการให้สุขศึกษาต่อการปรับความรู้ และพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกรอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsชูชีพ สืบทรัพย์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA ช651ผ
Keywordsยากำจัดศัตรูพืช--แง่อนามัย, ศรีสะเกษ, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, สารเคมีทางการเกษตร, สารเคมีทางการเกษตร--แง่อนามัย, สุขศึกษา
Abstract

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้และพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในพื้นที่ทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมของเกษตรกรระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม 3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมของเกษตรกรของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนการให้สุขศึกษากับหลังการให้สุขศึกษาเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมของเกษตรกร โดยมีเกษตรกรตำบลปราสาทจำนวน 192 คน เป็นกลุ่มควบคุมและเกษตรกรตำบลเมืองหลวงจำนวน 196 คน เป็นกลุ่มทดลองเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบทดสอบถามและเก็บข้อมูลก่อนและหลังการให้สุขศึกษาในกลุ่มทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา paired t-test และ t-test
ผลการศึกษา พบว่า ก่อนการให้สุขศึกษาเกษตรกรกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ที่ 9.87?1.47 และ 10.12?1.14 ตามลำดับ และคะแนนพฤติกรรมของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ 41.63?10.76 และ 41.61?6.64 ตามลำดับ หลังการให้สุขศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้นเป็น 10.17?1.43 มากกว่ากลุ่มควบคุมที่มีคะแนนเฉลี่ยที่ 9.66?1.18 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และเกษตรกรกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 57.26?8.54 มากกว่ากลุ่มควบคุมที่มีคะแนนเฉลี่ยที่ 44.21?6.88 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)
ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความรู้และพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนการให้สุขศึกษา ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ของความรู้และพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลังการให้สุขศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดยคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม
ผลการเปรียบเทียบ คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองเรื่องความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพื้ชระหว่างก่อนและหลังการให้สุขศึกษา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0
0.031) และผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองเรื่องพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชระหว่างก่อนและหลังการให้สุขศึกษาพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดยคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการให้สุขศึกษา

Title Alternate Effects of health education on knowledges and behavioral adjustment in pesticide use of agriculturists in Huaytuptun District, Sisaket