ศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกรณีศึกษาบ้านเกษตรพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกรณีศึกษาบ้านเกษตรพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2550
Authorsชุมพล กากแก้ว
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHN ช627ศ
Keywordsกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง--การบริหาร, การบริหารจัดการ, การพัฒนาชุมชน, บ้านเกษตรพัฒนา, อุบลราชธานี
Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ศึกษาศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านเกษตรพัฒนา วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุฯภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านทุกคนจำนวน 9 คน ใช้แบบทดสอบ และสมาชิกกองทุนหมู่บ้านจำนวน 10 คน ใช้แบบสัมภาษณ์
ผลการศึกษา พบว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีระดับความรู้เกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพด้านความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีศักยภาพด้านวัสดุอุปกรณ์และสถานที่มากที่สุด และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพด้านความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนอยู่ในระดับมาก โดยมีศักยภาพด้านการวางแผนมากที่สุด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่มีเพศแตกต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 กลุ่มตัวอย่างที่มีการดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านแตกต่างกัน มีศักยภาพด้านความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน มีศักยภาพด้านความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ข้อสังเกตจากการศึกษา คือ ระบบการเร่งรัดหนี้สินยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากสมาชิกที่กู้ยืมเงินไม่นำเงินส่งคืนตามกำหนดเวลา ทั้ง ๆ ที่คณะกรรมการกองทุนได้ติดตามเร่งรัดหนี้สินแล้ว และคณะกรรมการกองทุนไม่ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2550 ตามกำหนดเวลา
ข้อเสนอแนะของการศึกษา คือ คณะกรรมการกองทุนควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานกองทุนอยู่เสมอ และจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีทุกปีตามกำหนดเวลา รัฐบาลควรจัดให้มีการอบรมความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแก้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง และจัดให้มีการอบรมความรู้เกี่ยวกับระเบียบหลักเกณฑ์ข้อบังคับกองทุนและสร้างความเข้าใจให้สมาชิกมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วม รวมทั้งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายที่เอื้อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ จะต้องส่งเสริมให้กองทุนหมู่บ้านเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ โดยการสร้างเครือข่าย เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของคณะกรรมการกองทุน สมาชิกและประชาชนที่เกี่ยวข้อง

Title Alternate Management capability of the village and urban community fund committee in Kaset Phatthana Village, Kham Khwang Subdistrict, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province, Thailand