การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกรด เบส

Titleการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกรด เบส
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsเปี่ยมสุข ไชยผา
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQD ป799ก
Keywordsกรด, การสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์, ความเข้าใจคลาดเคลื่อน, วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), เคมี--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), เบส (เคมี)
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนเคมี เรื่องกรดเบส 4 เรื่อง ได้แก่ 1)สารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์ 2) อิอินในสารละลายกรดและสารละลายเบส 3)ทฤษฎีกรดเบส 4)การแตกตัวของกรดเบสและการแตกตัวเป็นไอออนของน้ำ โดยแต่ละเรื่องจะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อย่อย นอกจากนี้ยังศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 31 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 นักเรียนในกลุ่มตัวอย่างนี้จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยซึ่งเรียกว่ากลุ่มบ้าน ในแต่ละกลุ่มบ้านจะมีการแบ่งหน้าที่สมาชิกในกลุ่ม ให้ศึกษาหัวข้อย่อยที่แตกต่างกัน นักเรียนต่างกลุ่มบ้านที่มารวมกลุ่มศึกษาหัวข้อย่อยเดียวกันจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเดียวกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนมีหน้าที่ศึกษาหัวข้อย่อยที่ได้รับมอบหมายให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กลุ่มบ้านของตัวเองต่อไป และทำเช่นนี้จนครบทุกเรื่อง ด้วยวิธีการดังกล่าว สมาชิกในกลุ่มบ้านแต่ละคนต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ การวัดแนวคิดและความเข้าใจของนักเรียนใช้แบบทดสอบแบบเลือกตอบสองขั้นวิชาเคมีเรื่องกรดเบสจำนวน 20 ข้อ ประกอบการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่านักเรียนมีผลการทดสอบหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) และมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องกรดเบสลดลง นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนเรียนเคมีอย่างสนุกสนานและชื่นชอบรูปแบบการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ในระดับมาก

Title Alternate Jigsaw with cooperative learning in teaching acid base for enhancement of students' academic achievement
Fulltext: