นโยบาย ข้อตกลง และแนวทางความร่วมมือของประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววงกลมเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ภายใต้กระแสภูมิภาคนิยมและโลกาภิวัฒน์

Titleนโยบาย ข้อตกลง และแนวทางความร่วมมือของประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววงกลมเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ภายใต้กระแสภูมิภาคนิยมและโลกาภิวัฒน์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsศุภชัย วรรณเลิศสกุล
Degreeปร.ด (สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์)
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberG ศ684
Keywordsการท่องเที่ยว--นโยบายของรัฐ--กัมพูชา, การท่องเที่ยว--นโยบายของรัฐ--ลาว, การท่องเที่ยว--นโยบายของรัฐ--เวียดนาม, การท่องเที่ยว--นโยบายของรัฐ--ไทย, ภูมิภาคนิยม, วงกลมเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาบริบทและเงื่อนไขของภูมิภาคนิยมและโลกาภิวัตน์ที่ก่อให้เกิดวงกลมเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง 2)ศึกษานโยบาย ข้อตกลง และแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววงกลมเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงตอนล่างภายใต้บริบทภูมิภาคนิยมและโลกาภิวัตน์ และ 3) ศึกษาปรากฏการณ์ การเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และการปรับเปลี่ยนของวงกลมเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงตอนล่างที่เกี่ยวข้องกับมิติการท่องเที่ยวจากมุมมองภูมิภาคนิยมและโลกาภิวัตน์ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาครั้งนี้ใช้แนวคิดโลกาภิวัน์ภูมิภาคนิยม และการท่องเที่ยว
ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า กระบวนการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นบริบทและเงื่อนไขที่สำคัญมากในการผลักดันให้กลุ่มประเทศในภูมิภาคแม่น้ำโขงบูรณาการเป็นภูมิภาคเดียวกัน (Mekong Regionalization) ทั้งในระดับภูมิภาคแม่น้ำโขงและระดับทวิภาคี เพื่อพัฒนาพื้นที่วงกลมเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงตอนล่างสำหรับรองรับการท่องเที่ยวของภูมิภาคและความร่วมมือด้านอื่น ๆ ผ่านการพัฒนานโยบาย ความร่วมมือ ข้อตกลง และการสร้างกฎระเบียบร่วมกัน นอกจากนี้การศึกษายังพบว่า นโยบาย ข้อตกลง กฎระเบียบ และความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่วงกลมเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงตอนล่างจะบรรลุผลได้ต้องปฏิบัติตามพันธกิจกรณีของรัฐที่มีความตกลงร่วมกัน ประการสุดท้ายการศึกษามีข้อค้นพบทางวิชาการที่น่าสนใจว่า วงกลมเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงตอนล่างเป็นความตกลงและแนวทางสำคัญที่ชี้ให้เห็นการผลักดันโดยภาครัฐและภาคเอกชนในระดับท้องถิ่น ได้แก่ จังหวัดของประเทศต่าง ๆ ที่มีพรมแดนติดกันระดับชาติและข้ามชาติในการริเริ่มการพัฒนาในระดับภูมิภาคให้ปรากฎ มีความพยายามรักษาการดำรงอยู่ พัฒนาให้ขยายตัว และปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยอาศัยกระบวนการโลกาภิวัฒน์และการเป็นภูมิภาคเดียวกันเป็นเงื่อนไขสำคัญ

Title Alternate Policies, agreements and direction of cooperation among Thailand, Laos, Cambodia and Vietnam in developing and promothing tourism in lower Mekong basin economic circle under the trends of regionalism and globalization
Fulltext: