การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน

Titleการศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2556
Authorsเมชฌ สอดส่องกฤษ
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberP121 ม721
Keywordsภาษาจีน, ภาษาจีน--การใช้ภาษา, ภาษาศาสตร์, ภาษาไทยถิ่นอีสาน, ภาษาไทยถิ่นอีสาน--การใช้ภาษา
Abstract

สมมติฐานในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ในภาษาไทยถิ่นอีสานมีคำที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับภาษาตระกูลไทอีกเป็นจำนวนมาก จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่าคำภาษาไทยถิ่นอีสานที่ไม่มีในภาษาไทยดังกล่าวนี้เป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับภาษาจีน เนื่องจากสามารถหาคู่คำต้องสงสัยซึ่งสันนิษฐานว่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายได้ วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ การศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสารกับภาษาจีนในฐานะภาษาร่วมตระกูลไท-จีน โดยมุ่งสำรวจคำที่มีความสัมพันธ์กัน แล้วนำมาวิเคราะห์และอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในระดับเสียง คำ และความหมาย วิธีการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ การจับคู่คำศัพท์ที่สันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์กัน โดยดูรูปคำที่มีเสียงและความหมายในระดับที่เหมือนกันสัมพันธ์กัน และเกี่ยวข้องกัน โดยการคัดเลือกคำศัพท์จากพจนานุกรมแล้วตรวจสอบกับผู้บอกภาษา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานมีคำโดด 407 คำ และคำเสริมสร้อยสองพยางค์จำนวน 176 คำ มีความสัมพันธ์กับภาษาจีน ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ภาษาไทยถิ่นอีสานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนอย่างใกล้ชิด สนับสนุนแนวคิดทางประวัติศาสตร์ที่ว่า คนไทยลาว หรือ คนอีสาน เป็นกลุ่มชนที่แต่เดิมกระจายตัวอยู่ทางตอนใต้ของจีน ได้ขยายเขตที่อยู่อาศัยลงมาถึงตอนเหนือของลาว แล้วเลยเข้าสู่ภาคอีสานของไทย นอกเหนือจากผลการวิจัยที่สรุปให้เห็นความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ว วงคำศัพท์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ยังสามารถได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนภาษาจีนให้กับผู้เรียนที่พูดภาษาอีสานเป็นภาษาแม่ ผลปรากฏว่า ผู้เรียนให้ความสนใจประเด็นดังกล่าวมาก ทั้งยังสามารถจดจำคำศัพท์ภาษาจีนที่พ้องกับภาษาไทยถิ่นอีสานได้รวดเร็วขึ้น

Fulltext: