การสืบค้นหายีนที่ควบคุมลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจของข้าวพันธุ์เมืองไทยโดยการใช้ดีเอ็นเอเทคโนโลยี

Titleการสืบค้นหายีนที่ควบคุมลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจของข้าวพันธุ์เมืองไทยโดยการใช้ดีเอ็นเอเทคโนโลยี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2553
Authorsสุรีพร เกตุงาม, อุไรวรรณ คชสถิตย์, จันทนี อุริยพงศ์สรรค์, ชัชวาล จันทราสุริยารัตน์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQK495.G74 ส866
Keywordsข้าว--พันธุศาสตร์, ข้าว--พันธุ์พื้นเมือง, ดีเอ็นเอ, ยีน
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและค้นหายีนที่ควบคุมลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจในข้าวพื้นเมืองไทย โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ และศึกษาความสัมพันธ์ของเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอของยีนในขบวนการสังเคราะห์แป้งกับลักษณะคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของแป้งข้าว โดยดำเนินการสืบค้นยีนที่ควบคุมความหอม ลักษณะคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน และลักษณะต้านทานโรคขอบใบแห้งในข้าวพื้นเมืองไทยจากแหล่งปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ จำนวน 243 พันธุ์ เครื่องหมาย aromarker ถูกนำมาใช้ในการสืบค้นยีนความหอมจากการตรวจสอบพบพันธุ์ข้าวที่มีอัลลีลของยีนความหอมจำนวน 63 พันธุ์ คิดเป็น 27 % ของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่นำมาศึกษา ไพรเมอร์ Glu23F/ Glu23R หรือ Glu-23 insertion marker ถูกนำมาใช้ในการจำแนกพันธุ์ข้าวเหนียวออกจากพันธุ์ข้าวเจ้าซึ่งมีปริมาณอะไมโลสต่างกัน จากการตรวจสอบพบพันธุ์ข้าวที่เป็นข้าวเหนียว จำนวน 75 พันธุ์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 33% ของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่นำมาศึกษาและพบว่าข้าวพื้นเมืองภาคใต้เกือบทั้งหมดที่นำมาตรวจสอบเป็นข้าวเจ้า และพบว่า Wx microsatellite marker หรือ (CT)n repeat ในยีน Wx สามารถนำมาใช้ในการจำแนกพันธุ์ข้าวที่มีปริมาณอะไมโลสต่างกันได้อย่างชัดเจน ส่วนอุณหภูมิแป้งสุดของข้าวสามารถตรวจสอบได้โดย SSlla bi-PASA marker ซึ่งพัฒนามาจาก SNPs ที่ตำแหน่ง 2209 และ 2340-41 ของ SSlla gene จากการตรวจสอบ พบว่า ข้าวภาคใต้ส่วนใหญ่จะมี haplotype A (G-GC) ซึ่งสัมพันธ์กับค่าการสลายตัวในด่างต่ำ (ASV-1-3) ส่วนข้าวที่มี haplotype C (G-TT) ซึ่งสัมพันธ์กับค่าการสลายตัวในด่างสูงจะพบได้ในข้าวไร่พื้นเมืองภาคเหนือ และข้าวพื้นเมืองอีสาน

Title Alternate Investigation and searching of genes underlying economically important traits of landrace Thai rice using DNA technology