การผลิตและคุณสมบัติความเป็นเทอร์โมลูมิเนสเซนต์ของผลึกเชิงเดี่ยวลิเธียมฟลูออไรค์ : แมกนีเซียม คอปเปอร์ ซิลิกอน

Titleการผลิตและคุณสมบัติความเป็นเทอร์โมลูมิเนสเซนต์ของผลึกเชิงเดี่ยวลิเธียมฟลูออไรค์ : แมกนีเซียม คอปเปอร์ ซิลิกอน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsลำพูน อกอุ่น
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาฟิสิกส์
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQD ล346ก
Keywordsการปลูกผลึก, ผลึก--เครื่องมือและอุปกรณ์
Abstract

ทำการศึกาคุณสมบัติความเป็นเทอร์โมลูมิเนสเซนต์และคำนวณหาค่าพารามิเตอร์กับตักพลังงานจลน์ของเทอร์โมลูนิเนสเซนต์ชนิดลิเธียมฟลูออไรต์แมกนีเซียม คอปเปอร์ และซิลิกอนที่ถูกเตรียมด้วยวิธีการเตรียม 2 แบบ คือวิธีการหลอมที่อุณหภูมิสูง (ใช้ชื่อว่า PMCS) และวิธีการปลูกผลึกเดี่ยวด้วยเทคนิคบริดจ์แมน (ใช้ชื่อว่า SMCS) ใช้สารหลักลิเธียมฟลูออไรด์ที่เจือด้วยแมกนีเซียม 0.20 โมลเปอร์เซนต์ คอปเปอร์ 0.05 โมลเปอร์เซนต์ และทำการเปลี่ยนปริมาณความเข้มข้นของสารเจือซิลิกอนตั้งแต่ 0.00 ถึง 1.50 โมลเปอร์เซนต์ ความเป็นผลึกโพลีและผลึกเชิงเดี่ยวถูกยืนยันด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ โดยพบว่า ผลึกที่ได้อยู่ในรูปผลึกโพลีและผลึกเชิงเดี่ยว ทีแอล ทั้งสองชนิดมีโครงสร้างโกลว์เคิร์ฟของเทอร์โมลูมีเนสเซนต์คล้ายคลึงกัน มีคุณสมบัติความเป็นเชิงเส้นของการตอบสนองต่อรังสีตั้งแต่ 0.10 ถึง 3 mGy. ดี ทีแอลดี ชนิด SMCS มีความไวในการตอบสนองต่อรังสีสูงกว่าทีแอลดีชนิด PMCS 1.3 เท่า ความเข้มข้นของปริมาณซิลิกอนที่มากขึ้นจะส่งผลให้ความไวในการตอบสนองต่อรังสีของทีแอลดีชนิด SMCS มีค่ามากขึ้น การตกค้างของปริมาณแสงที่หลงเหลืออยู่ในทีแอลดีชนิด SMCS มีค่าต่ำกว่าแอลดีชนิด PMCS โครงสร้างของโกลว์เคิร์ฟและความไวในการตอบสนองต่อรังสีของทีแอลดีชนิด SMCS มีความคงที่เมื่อถูกใช้งานซ้ำ 5 ครั้ง แต่ไม่คงที่ในทีแอลดีชนิด PMCS จากการเปลี่ยนแปลงความร้อนที่ใช้ในการอ่านค่าสัญญาณแสงตั้งแต่ 1 ถึง 20 องศาเซลเซียสต่อวินาที พบว่า ความเข้มแสงเทอร์โมลูมิเนสเซนต์ของทีแอลดีทั้งสองชนิดไม่เปลี่ยนแปลงแต่ตำแหน่งอุณหภูมิของพีคหลักมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอัตราการให้ความร้อนโดยแสดงความสัมพันธ์แบบพลังงานจลน์ลำดับที่หนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามโมเดลแรนดอลล์และวิลคินส์ ค่าพารามิเตอร์กับดักพลังงานจลน์ของทีแอลดีชนิด PMCS และทีแอลดีชนิด SMCS มีค่า E เท่ากับ 0.7449 eV ค่า s เท่ากับ 1.48*10^6 ต่อวินาที และ E เท่ากับ 1.6657 eV ค่า s เท่ากับ 5.882*10^15 ต่อวินาที ตามลำดับ และปริมาณความเข้มข้นสารเจือซิลิกินที่มากขึ้นจะส่งผลให้ค่า E และ s มีแนวโน้มลดลง

Title Alternate Fabrication and thermoluminescence properties of LiF : Mg Cu Si single crystal.
Fulltext: