การผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดยางพาราเป็นพลังงานทดแทนและการทดสอบสมรรถนะกับเครื่องยนต์

Titleการผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดยางพาราเป็นพลังงานทดแทนและการทดสอบสมรรถนะกับเครื่องยนต์
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2550
Authorsประชาสันติ ไตรยสุทธิ์, กุลเชษฐ์ เพียรทอง, พิสิษฐ์ เตชะรุ่งไพศาล, ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์, อิทธิพล วรพันธุ์
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP684.R83 ป238
Keywordsพลังงานทดแทน, เชื้อเพลิงขับเคลื่อนเครื่องยนต์, เชื้อเพลิงไบโอดีเซล--การผลิต, เมล็ดยางพารา--การใช้ประโยชน์, ไบโอดีเซล
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการและหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากเมล็ดยางพารา เพื่อให้ได้น้ำมันไบโอดีเซลปริมาณมากที่สุดต่อหนึ่งรอบการผลิต โดยมีวิธีการผลิตอยู่ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการลดกรดไขมันอิสระและขั้นตอนการทำน้ำมันไบโอดีเซลด้วยกระบวนการทรานเอสเตอร์ริฟิเคชั่น โดยเริ่มจากนำน้ำมันดิบที่สกัดได้จากเมล็ดยางพารามาให้ความร้อนที่ 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที เพื่อไล่ความชื้นออกจากน้ำมันดิบ จากนั้นทำการลดกรดไขมันอิสระโดยเติมกรดซัลฟิวริก 2.5% โดยมวล และเมทานอลในอัตราส่วน 6:1 โดยโมล อุณหภูมิขณะทำปฏิกิริยา 60 องศสเซลเซียส และปั่นผสมเป็นเวลา 30 นาที หลังจากนั้นนำมาทำปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า กระบวนการทรานส์เอสเตอร์ริฟิเคชั่น โดยมีเมทานอลเป็นตัวทำปฏิกิริยาในอัตราส่วน 3:1 โดยโมล และใช้โปรแตสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา อุณหภูมิขณะทำปฏิกิริยา 60 องศาเซลเซียส จากการทดลอง พบว่าปริมาณน้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตได้มากที่สุด คือ 89% ผลการทดสอบด้านสมรรถนะกับเครื่องยนต์ขนาดเล็ก 1 สูบ ที่ภาระสูงสุด ความเร็วรอบ 1300-2300 รอบต่อนาที อัตราส่วนผสมระหว่างไบโอดีเซลกับดีเซล 10:90, 25:75 และไบโอดีเซล 100% โดยปริมาตร เปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซลมาตรฐาน จากการทดลองพบว่าแรงบิดและกำลังม้าเบรกของดีเซลจะมีค่าสูงสุด และจะลดลงตามอัตราส่วนผสมไบโอดีเซลที่เพิ่มขึ้น โดยแรงบิดและกำลังม้าเบรกไบโอดีเซลจะต่ำกว่าดีเซลประมาณ 5% อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลงจำเพาะเบรกไบโอดีเซลสูงกว่าดีเซลประมาณ 10% และประสิทธิภาพเชิงความร้อนเบรกในช่วงความเร็วต่ำไบโอดีเซลมีค่าสูงสุด

Title Alternate Production of biodiesel from para rubber seed and engine performance tests