การพัฒนาการผลิตไก่พื้นเมืองและไก่ลูกผสมพื้นเมือง

Titleการพัฒนาการผลิตไก่พื้นเมืองและไก่ลูกผสมพื้นเมือง
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2541
Authorsเกรียงไกร โชประการ, วัชรพงษ์ วัฒนกูล, กิตติ วงส์พิเชษฐ, วรพงษ์ สุริยจันทราทอง
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSF481.75.T5 ก493
Keywordsไก่พื้นเมือง--การเลี้ยง
Abstract

ไก่พื้นเมืองที่เกษตรกรเลี้ยงไว้บริโภคหรือจำหน่ายเป็นรายได้เสริมนั้น เป็นสายพันธุ์ไก่อูหรือไก่ชนประมาณ 91% นอกนั้นคือ ไก่แจ้ ไก่ตะเภา และไก่กลายพันธุ์ คุณสมบติที่สำคัญบางประการของไก่พื้นเมือง เมื่อเปรียบเทียบกับไก่ลูกผสมพื้นเมืองและพันธุ์แท้จากต่างประเทศ คือ 1. สามารถปรับตัวในสภาพชนบทได้ดี หากินเก่ง ใช้อาหารคุณภาพต่ำได้ดี 2.มีความต้านทานความเครียดจากความร้อน 3.มีความต้านทานต่อโรคระบาดที่สำคัญ คือ โรคฝีดาษไก่ อหิวาห์ไก่และนิวคาสเซิล 4.ในสภาพการเลี้ยงโดยเกษตรกรในชนบท แม่ไก่พื้นเมือง 1 ตัว จะให้ไข่เฉลี่ยปีละ 30-50 ฟอง อัตราการฟักออกเฉลี่ย 80-85% อัตราการเลี้ยงรอดประมาณ 30% ดังนั้นแม่ไก่พื้นเมือง 1 ตัว จะผลิตลูกไก่ที่มีอัตราการเลี้ยงรอดจนถึง 4-5 เดือน ซึ่งมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.0-1.2 กิโลกรัม เพียง 7-12 ตัว