การใช้ประโยชน์ของเสีย : กรณีศึกษา โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ในจังหวัดมุกดาหาร

Titleการใช้ประโยชน์ของเสีย : กรณีศึกษา โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ในจังหวัดมุกดาหาร
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2563
Authorsลัดดาวรรณ พลหงษ์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD ล245ก 2563
Keywordsการใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์, ของเสียจากโรงงาน -- การใช้ประโยชน์, โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในด้านการใช้ประโยชน์ของเสียของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังในจังหวัดมุกดาหาร และทำการวิเคราะห์และสรุปผลการใช้ประโยชน์ของเสียของโรงงาน โดยวิธีการศึกษาใช้แบบสัมภาษณ์สำรวจทางวิศวกรรมศาสตร์และวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิภายใน 1 ปี สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ 1) แหล่งกำเนิดกากของเสียจากกระบวนการผลิตหลักได้แก่ กากมันสด เปลือกดิน เปลือกล้าง กากของเสียจากกระบวนการสนับสนุนการผลิต ได้แก่ แกลบเผา ถังบรรจุสารเคมี น้ำมันหล่อลื่น และผ้าเปื้อนน้ำมัน กากของเสียจากโรงอาหาร สำนักงาน และห้องพยาบาล ได้แก่ เศษอาหาร กระดาษ ตลับหมึกพิมพ์ หลอดไฟ 2) มีปริมาณกากของเสียที่เกิดขึ้น จำนวนทั้งสิ้น 55,023.2 ตันต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นกากมันสด มีค่าเฉลี่ยประมาณ 4,464 ตันต่อเดือน 3) โรงงานมีการคัดแยกของเสียที่แหล่งกำเนิด มีภาชนะเก็บรวบรวมเฉพาะ ในขณะที่น้ำเสียถูกรวมและไหลส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสีย 4) โดยหลักของเสียที่คัดแยกในโรงงาน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่นำไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มที่นำส่งกำจัดภายนอกโรงงาน 5) ระบบบำบัดน้ำเสีย มีการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพ 6) รายได้จากการใช้ประโยชน์จากของเสียแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ รายได้จากการขายของเสียที่คัดแยก ประมาณ 16,423,715 บาทต่อปีส่วนรายได้จากก๊าซชีวภาพในการผลิตไฟฟ้าขาย ประมาณ 20,855,010 บาทต่อปี 7) การประเมินระยะในการคืนทุนในภาพรวมของโรงงานหลังจากมีการใช้ประโยชน์จากของเสีย เท่ากับ 2.82 ปี คิดบนพื้นฐานต้นทุนลงทุนก่อสร้าง แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ของเสียควรทำการศึกษาความเหมาะสม ตามการพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคตต่อไป

Title Alternate Waste utilization : a case study of starch manufactured factory in Mukdahan province