ระบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียมแบบเพอร์เซฟตรอนหลายชั้น

Titleระบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียมแบบเพอร์เซฟตรอนหลายชั้น
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2563
Authorsธนสิทธิ์ สนั่นเมือง
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRC ธ159ร 2563
Keywordsผู้ป่วยเบาหวาน, ระบบประเมินความเสี่ยง, โครงข่ายประสาทเทียมแบบเพอร์เซฟตรอนหลายชั้น, โรคหัวใจและหลอดเลือด
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบจำลองจำแนกความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบเพอร์เซฟตรอนหลายชั้น 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยข้อมูลที่นำมาศึกษารวบรวมจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ประกอบด้วย ข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 2,036 เรคคอร์ด ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2562 ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุ การสูบบุหรี่ และข้อมูลผลตรวจเลือดจากห้องปฏิบัติการข้อมูลเหล่านี้ถูกนำมาปรับความสมดุลด้วยวิธี Synthetic Minority Over-sampling technique (SMOTE) โดยได้เพิ่มจำนวนข้อมูลตั้งแต่ 100% ถึง 400% จากนั้นประยุกต์ใช้การคัดเลือกคุณลักษณะข้อมูลด้วยวิธี Information Gain (IG) เปรียบเทียบกับวิธี Chi-Square ร่วมกับการจำแนกข้อมูลด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียมแบบเพอร์เซฟตรอนหลายชั้น ผลการประเมินประสิทธิภาพแบบจำลองด้วยวิธี 10-fold cross validation พบว่าการจำแนกความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยการคัดเลือกคุณลักษณะข้อมูลด้วยวิธีInformation Gain (IG) ร่วมกับวิธีโครงข่ายประสาทเทียมแบบเพอร์
เซฟตรอนหลายชั้นมีประสิทธิภาพดีที่สุด โดยมีค่าความถูกต้อง (Accuracy) ของการจำแนกเท่ากับ 98.03% ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้ระบบจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 6 คน และผู้ใช้งานทั่วไปจำนวน 14 คนโดยใช้แบบสอบถาม พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (mean=3.85, SD=0.57) และผู้ใช้ทั่วไปมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (mean=3.88,SD=0.56) จากผลดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า ระบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ได้จริงและสนับสนุนการทำงานของแพทย์ได้

Title Alternate Risk assessment system for cardiovascular disease among diabetes by using multilayer perceptron neural network