การกำจัดน้ำเสียชุมชนด้วยจุลสาหร่ายสีเขียวสายพันธุ์คลอโรคอกคัม ฮิวมิโคลา

Titleการกำจัดน้ำเสียชุมชนด้วยจุลสาหร่ายสีเขียวสายพันธุ์คลอโรคอกคัม ฮิวมิโคลา
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2562
Authorsณกรณ์ เที่ยงภักดี
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD ณ111 2562
KeywordsChlorococcum Humicola, การกำจัดน้ำเสีย, การบำบัดน้ำเสีย, คลอโรคอกคัม ฮิวมิโคลา, น้ำเสียชุมชน, สาหร่ายสีเขียว
Abstract

การเพาะเลี้ยงจุลสาหร่ายเป็นแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการบำบัดน้ำเสียชุมชนโดยจุลสาหร่ายจะใช้ธาตุอาหารไนโตรเจนรวม (TN) และฟอสฟอรัสรวม (TP) ในน้ำเสียและคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโดยจุลสาหร่ายในการสังเคราะห์แสง งานวิจัยนี้ มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาความหนาแน่นเริ่มต้นของเซลล์จุลสาหร่ายที่เหมาะสม จลนศาสตร์การเจริญเติบโตของจุลสาหร่ายและประสิทธิภาพในการกำจัด TN และ TP ในน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์ด้วยจุลสาหร่าย Chlorococcum humicola ที่เพาะเลี้ยงในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพใช้แสงแบบ BCPBR น้ำเสียชุมชนสังเคราะห์ที่ศึกษามีองค์ประกอบหลักเช่นเดียวกับน้ำเสียชุมชนที่ผ่านการบำบัดในขั้นตอนทุติยภูมิ ผลการเพาะเลี้ยงจุลสาหร่ายในขวดรูปชมพู่ภายใต้สภาวะแบบกะ 14 วัน พบว่าความหนาแน่นเริ่มต้นซึ่งมีค่า OD เท่ากับ 0.3 (5.88x106 ± 0.29x106 cell/mL) มีความเหมาะสมมากที่สุดสามารถกำจัด TN และ TPในน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง โดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุดเท่ากับ 6 วัน โดยเท่ากับ 0.237 day-1 การประเมินหาค่าพารามิเตอร์ Mumax ของแบบจำลองจลนศาสตร์การเจริญเติบโตของจุลสาหร่ายสำหรับกรณีที่ OD เริ่มต้นเท่ากับ 0.1, 0.3 และ 0.5 พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.263, 0.655 และ 0.625 day-1 ตามลำดับ โดยแบบจำลองจลนศาสตร์ให้ผลการทำนายการเจริญเติบโตใกล้เคียงกับผลการทดลองเฉพาะกรณีที่ OD มีค่าเท่ากับ 0.3 และ 0.5 การทำนายปริมาณของ TN และ TP ในน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์โดยใช้สมการของ Luedeking-Piret-Like ให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างแตกต่างจากผลการทดลองการเพาะเลี้ยงจุลสาหร่ายแบบกะใน BCPBR เพื่อบำบัดน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์โดยใช้ OD เริ่มต้นเท่ากับ 0.3 สามารถกำจัด TN และ TP ได้มากถึงร้อยละ 63.60 และ 85.60 ณ วันที่ 6 ของการเพาะเลี้ยง ตามลำดับ ในขณะที่การเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะแบบกึ่งต่อเนื่องนั้นสามารถกำจัด TN และ TP เฉลี่ยร้อยละ 56.0 0.14 และ 83.20 0.51 ตามลำดับ นอกจากนี้ แล้วยังพบว่าการเพาะเลี้ยงใน BCPBR ภายใต้สภาวะแบบกึ่งต่อเนื่องนั้นมีค่าเฉลี่ยของ Mu, Poverall และ PB ใกล้เคียงกับกรณีที่เพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะแบบกะ แสดงให้เห็นว่าการขยายความสามารถในการบำบัดน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์สามารถทำได้โดยการเพาะเลี้ยงสภาวะแบบกึ่งต่อเนื่อง

Title Alternate Treatment of domestic wastewater using green microalgae Chlorococcum Humicola