การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน

Titleการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องหน่วยของสิ่งมีชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsจุลลดา ทำประเสริฐ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQH จ667 2561
Keywordsการสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน, ชีวิต (ชีววิทยา), ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, สิ่งมีชีวิต
Abstract

วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยนี้คือ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของส่ิงมีชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 34 คน ของโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เครื่องมือในการวิจัยวิธีวิจัย คือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 25 คน แผนการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5E เวลาในการจัดกิจกรรม 100 นาที เก็บข้อมูลจากแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบบันทึกกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ความก้าวหน้าทางการเรียน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 79/53 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 68.11 (=0.6811) จัดเป็นความก้าวหน้าในระดับปานกลาง ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) ของกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 84.73/81.87 และ 0.6811 ตามลำดับ

Title Alternate The development of achievement in the topic unit of life for grade 7 student using 5E inquiry cycle and model-based learning