การกำจัดสีย้อมมาลาไคท์กรีนจากสารละลายด้วยกระบวนการดูดซับร่วมกับกระบวนการโฟโตคะตะไลซีสโดยใช้ไททาเนียมไดออกไซด์ตรึงบนแร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์

Titleการกำจัดสีย้อมมาลาไคท์กรีนจากสารละลายด้วยกระบวนการดูดซับร่วมกับกระบวนการโฟโตคะตะไลซีสโดยใช้ไททาเนียมไดออกไซด์ตรึงบนแร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2562
Authorsจุรีพร วงศ์จันดา
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP จ645 2562
Keywordsกระบวนการโฟโตคะตะไลซีสโลซีส, การกำจัดสีย้อมมาลาไคท์กรีน, การลดแรงตึง, มาลาไคท์กรีน, สีย้อมและการย้อมสี -- การดูดซับ, แร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์, ไททาเนียมไดออกไซด์
Abstract

ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกําจัดสีย้อมมาลาไคท์กรีน (MG) จากสารละลายด้วยการดูดซับร่วมกับกระบวนการโฟโตคะตะไลซีสโดยใช้ไททาเนียมไดออกไซด์ตรึงบนแร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ (TiO2/MMt) 2 ชนิด ได้แก่ TTM และ TCM วิเคราะห์คุณสมบัติTiO2/MMt ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่ผิวจําเพาะด้วยวิธีของ BET และขนาดรูพรุนเฉลี่ยด้วยวิธีของ BJH ลักษณะสัณฐานด้วยภาพถ่าย SEM โครงสร้างทางจุลภาคด้วยภาพถ่าย TEM ปริมาณธาตุองค์ประกอบด้วย XRF หมู่ฟังก์ชันที่สําคัญด้วยเทคนิค FTIR โครงสร้างผลึกด้วยเทคนิค XRD และความเสถียรเชิงความร้อนด้วยเทคนิค TGA
ผลการศึกษาการดูดซับสีย้อมพบว่า TTM มีประสิทธิภาพการกําจัดสีย้อม MG สูงกว่า TCM ประสิทธิภาพการกําจัดสีย้อมเกิดขึ้นสูงสุดภายใต้สภาวะที่มีความความเข้มข้นสีย้อม 100 มิลลิกรัมต่อลิตร เวลาสัมผัส 24 ชั่วโมง ค่าพีเอช 5 และอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ไอโซเทอมการดูดซับมีความสอดคล้องกับสมการไอโซเทอมแลงเมียร์ผลการทดลองเชิงจลนพลศาสตร์สอดคล้องกับสมการปฏิกิริยาอันดับสองเทียม ผลการศึกษาเทอร์โมไดนามิกส์แสดงให้เห็นว่า การดูดซับเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน ผลการศึกษาการกําจัดสีย้อมด้วยกระบวนการโฟโตคะตะไลซีสพบว่า TTM มีประสิทธิภาพการกําจัดสีย้อม MG สูงกว่า TCM ประสิทธิภาพการกําจัดสีย้อมเกิดขึ้นสูงสุดภายใต้สภาวะที่มีปริมาณ TiO2 1 กรัม ค่าพีเอช 4 อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นสีย้อม 400 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเข้มแสงของรังสียูวีซี 2.752 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร และเวลาฉายรังสี 24 ชั่วโมง จากผลการวิเคราะห์โครงสร้างของโมเลกุลสีย้อมก่อนและหลังการกําจัดด้วยเทคนิค LCMS พบว่า TTM และ TCM สามารถเร่งการย่อยสลายโมเลกุลสีย้อมด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและรีดักชั่นส่งผลให้โมเลกุลสีย้อมกลายเป็นสารอนุพันธ์ที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลง จากผลการทดลองเเสดงให้เห็นว่า TTM และ TCM สามารถใช้เป็นตัวดูดซับและตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีศักยภาพในการกําจัดสี MG จากน้ําเสีย

Title Alternate Removal of malachite green dye from aqueous solution by adsorption process with photocatalysis process using titanium dioxide immobilized montmorillonite clay