ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติในการปรับปรุงโปรแกรมการบำบัดผู้เสพยาบ้าในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล : กรณีศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ

Titleความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติในการปรับปรุงโปรแกรมการบำบัดผู้เสพยาบ้าในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล : กรณีศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsกัลยาณี สุเวทเวทิน
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRM ก412ค 2561
Keywordsการควบคุมยาเสพติด, การบำบัดผู้เสพยาบ้า, การรักษาคนติดยาเสพติด, ฐานข้อมูลคนติดยาเสพติด, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
Abstract

การวินิจฉัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์และผลการดำเนินงานการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดอำนาจเจริญ รวมทั้ง พัฒนาปรับปรุงการบำบัดการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์การบำบัดและประเมินผลการดำเนินงานการบำบัด โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
เพื่อทราบถึงสภาพการณ์การบำบัดผู้เสพยาบ้าด้วยระบบสมัครใจบำบัดใน รพสต.จังหวัดอำนาจเจริญ
เพื่อประเมินความคิดเห็นของผู้คัดกรองในการใช้วิธีคัดกรองผู้ป่วยยาเสพติดด้วยแบบคัดกรองของกระทรวงสาธารณสุข Version 2 (V.2) เทียบกับของ WHO (ASSIST) เพื่อประเมินความรู้ของเจ้าหน้าที่ผู้ให้การบำบัดยาเสพติดที่ รพ.สต.จังหวัดอำนาจเจริญ
เพื่อประเมินผลการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดประเภทยาบ้าระบบสมัครใจบำบัดที่ รพ.สต.จังหวัดอำนาจเจริญ ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลลัพธ์ ประชากร คือ เจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพในเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า จังหวัดอำนาจเจริญเร่ิมบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดใน รพ.สต.พ.ศ.2554 ด้วยรูปแบบจิตสังคมบำบัด 9 ครั้ง ระยะเวลา 4 เดือน ด้านความคิดเห็นต่อการคัดกรองผู้ป่วยยาเสพติด พบว่า แบบคัดกรอง V.2 คำถามกระชับ สะดวกและใช้เวลาน้อยกว่า ASSIST โดยผลการคัดกรองไม่แตกต่างกัน ด้านความรู้ของเจ้าหน้าที่ผู้ให้การบำบัด ส่วนใหญ่มีความรู้ด้านการบำบัดยาเสพติดระดับสูง
ผลการประเมินรูปแบบการบำบัด พบว่า 1)ด้านบริบท ผู้ให้การบำบัดเห็นด้วยกับความเหมาะสมของนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับจังหวัดและประเทศในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยนำเข้าผู้ให้การบำบัดส่วนใหญ่มี 1 คน และผ่านการอบรมทุกคน งบประมาณและชุดตรวจปัสสาสะเพียงพอ 3) ด้านกระบวนกา ผู้ให้การบำบัดส่วนใหญ่เห็นด้วยปานกลางในกระบวนการบำบัด โดยมีการติดตามผู้ป่วยด้วยการเยี่ยมบ้านและนัดมา รพ.สต. 4) ด้านผลผลิต ผู้ป่วยเข้าบำบัดครบตามกระบวนการด้านผลลัพธ์ ผู้ป่วยทุกคนมั่นใจว่าจะไม่กลับไปเสพซ้ำอีก ส่วนการหยุดเสพ 3 เดือน ภายหลังการบำบัดครบ หยุดเสพได้ร้อยละ 85 ขึ้นไป ผู้ป่วยเห็นคุณค่าในตนเอง และความสัมพันธ์กับคนอื่นดีขึ้น ความพึงพอใจผู้ป่วยและญาติต่อการบำบัดอยู่ในระดับมากและมากที่สุดตามลำดับ
ระยะที่ 2 เพื่อปรับปรุงพัฒนการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดประเภทยาบ้าในระบบสมัครใจบำบัดใน รพ.สต.ของจังหวัดอำนาจเจริญโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด จำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่า การพัฒนารูปแบบการบำบัดโดยการนำเรื่องของวิถีพุทธซึ่งเป็นความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนาพุทธมาเพิ่มในกระบวนการบำบัดแบบเดิม น่าจะส่งผลต่อประสิทธิผลในการบำบัดที่ดีขึ้น

Title Alternate The opinions of the practitioners to improve methamphetamine treatment program in sub-district health promoting hospital : a case study of Amnat Charoen province