ยาลดความดันโลหิตและการเกิดโรคเบาหวานในคนไทย

Titleยาลดความดันโลหิตและการเกิดโรคเบาหวานในคนไทย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsพรพันธ์ เฉลิมรัมย์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRC พ248 2561
Keywordsการรักษาเบาหวานด้วยยา, ความดันเลือดสูง -- การรักษาด้วยยา, ยาลดความดันโลหิต, เบาหวาน -- การรักษาด้วยยา, เบาหวาน -- การเกิดโรค, โรคเบาหวาน
Abstract

โรคเบาหวานอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยหนึ่งในปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานคือยาลดความดันโลหิต อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังไม่มีรายงานการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของยาลดความดันโลหิตกับการเกิดโรคเบาหวาน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ของการได้รับยาลดความดันโลหิตกับการเกิดโรคเบาหวานในคนไทย การศึกษาโคฮอร์ทแบบย้อนหลังนี้ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยในจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่าง 1 มกราคม 2550 ถึง 31 ธันวาคม 2558 โดยทำการคัดเลือกผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูงรายใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จากรหัส ICD 10 (รหัส I10-I15) ร่วมกับการได้รับยาลดความดันโลหิต โดยแบ่งกลุ่มยาลดความดันโลหิตเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ACEI-based regimen 2) thiazide-based regimen และ 3) combined thiazide-ACEI based regimen หลังจากนั้น ติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 6 ปี หรือจนกระทั่งเกิดโรคเบาหวาน (ICD 10: E10-E14) และวิเคราะห์ข้อมูลโดย multivariate time varying covariate cox regression เพื่อควบคุมตัวแปรกวน ได้แก่ อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย ระดับไขมันในเลือด ระดับความดันโลหิต และการใช้ยาลดไขมันกลุ่ม statin พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลโดย propensity score แบบตัวแปรร่วม เพื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรกวนจากข้อบ่งใช้ หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานในผู้ป่วยที่ได้รับยา thiazide-based regimen หรือ combined thiazide-ACEI based regimen โดยก าหนดให้ผู้ป่วยที่ได้รับยา ACEI-based regimen เป็นกลุ่มอ้างอิง จากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การศึกษา จำนวน 3,689 ราย พบว่า ผู้ป่วย จำนวน 396 รายเกิดโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับยา ACEI-based regimen thiazide-based regimen และ combined thiazide-ACEI based regimen เกิดโรคเบาหวานร้อยละ 11.06 ร้อยละ 14.17 และร้อยละ 14.17 ตามลำดับ เมื่อทำการควบคุมตัวแปรกวน พบว่า กลุ่มที่ได้รับยา thiazide-based regimen (HRadj=1.616, 95% CI: 1.011-2.586) ดรรชนีมวลกายที่สูงขึ้น (HRadj=1.070, 95% CI: 1.018-1.125) ระดับความดันโลหิตซิสโตลิค ≥ 140 มิลลิเมตรปรอท (HRadj=1.687, 95% CI: 1.095-2.597) ระดับโคเลสเตอรอลรวม ≥ 240 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (HRadj=2.043, 95% CI: 1.123-3.715) ระดับไตรกลีเซอไรด์ ≥ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (HRadj=1.812, 95% CI: 1.222–2.686) มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ทุกตัวแปรมีค่า p-value < 0.05) แต่เมื่อทำการควบคุมอิทธิพลของตัวแปรกวนจากข้อบ่งใช้ด้วย ค่า propensity score แบบตัวแปรร่วม พบว่า ดรรชนีมวลกายที่สูงขึ้น (HRadj=1.059, 95% CI: 1.007-1.113) ระดับความดันโลหิตซิสโตลิค ≥ 140 มิลลิเมตรปรอท (HRadj=1.865; 95% CI, 1.206- 2.885) มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)
โดยสรุป การได้รับยาลดความดันโลหิตในกลุ่มที่ศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน หากแต่ดัชนีมวลกายที่สูงขึ้นและระดับความดันโลหิตซิสโตลิคตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานในคนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Title Alternate Antihypertensive drugs and new onset diabetes in Thai