การพัฒนาความเข้าใจแนวคิด เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โดยใช้แนวทางการเรียนรู้เชิงรุก

Titleการพัฒนาความเข้าใจแนวคิด เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โดยใช้แนวทางการเรียนรู้เชิงรุก
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsนูรีดา เจ๊ะโซ๊ะ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQC น759 2561
Keywordsการสอนวิชาฟิสกส์, การสอนวิทยาศาสตร์, การเคลื่อนที่ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), การเรียนรู้เชิงรุก
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (2) พัฒนาความเข้าใจแนวคิดของนักเรียน (3) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์โดยใช้แนวทางการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จำนวน 41 คน ที่เรียนเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ที่ใช้แนวทางการเรียนรู้เชิงรุก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ชนิดเลือกตอบแบบสองขั้น (two-tier diagnostic test) และแบบสอบถามความพึงพอใจของ นักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน และ Normalized gain ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โดยการใช้แนวทางการเรียนรู้เชิงรุก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความเข้าใจแนวคิด เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ความก้าวหน้าทางการเรียนรายชั้นเรียน เท่ากับ 0.42 อยู่ในระดับปานกลาง จากนักเรียนจำนวน 41 คน มีนักเรียนจำนวน 7 คน คิดเป็น ร้อยละ 17.07 มีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับที่สูง นักเรียนจำนวน 20 คน คิดเป็น ร้อยละ 48.78 มีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง และนักเรียนจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 34.15 มีความก้าวหน้าทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ และนักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.49 ชี้ให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางการเรียนรู้เชิงรุก ช่วยพัฒนาความเข้าใจแนวคิด เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ได้ เนื่องจากนักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

Title Alternate Developing conceptual understanding on projectile motion by using active learning approach
Fulltext: