ศักยภาพและรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ :กรณีบ้านแหลมสวรรค์ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

Titleศักยภาพและรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ :กรณีบ้านแหลมสวรรค์ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2560
Authorsนรา หัตถสิน, สายรุ้ง ดินโคกสูง
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberG156.5.E26 น231 2560
Keywordsการจัดการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, รูปแบบการท่องเที่ยว, ศักยภาพการท่องเที่ยว
Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ เพื่อศึกษา 1) บริบทชุมชนบ้านแหลมสวรรค์และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 2)ศักยภาพของชุมชนบ้านแหลมสวรรค์ที่เอื้อต่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ 3) ข้อจำกัดที่ขัดขวางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนบ้านแหลมสวรรค์ และ 4) รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบชุมชนมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับบริบทบ้านแหลมสวรรค์ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักวิจัยชุมชน และแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวทดลองที่มาเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวฯ ผลการศึกษาพบว่า
เนื่องจากชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินธรในช่วงปี พ.ศ. 2511 ทำให้ต้องอพยพออกจากหมู่บ้านเดิมมาตั้งหมู่บ้านใหม่ คือ บ้านแหลมสวรรค์ ซึ่งมีพื้นที่โดยรอบของหมู่บ้านกว่า 5 กิโลเมตร ที่มีบริเวณติดกับเขื่อน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมด้วยการทำอาชีพประมง ดำหาไม้ใต้น้ำและทำไม้ตีพริกในหมู่บ้าน ในขณะที่บางส่วนได้ออกไปทำอาชีพรับจ้างทั่วไปนอกหมู่บ้าน จากมุมมองด้านการพัฒนาทรัพยากรทางการท่องเที่ยวนั้นพบว่า บ้านแหลมสวรรค์มีศักยภาพที่เอื้อต่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ในระดับมาก เพราะ นอกจากจะสามารถเข้าถึงได้สะดวกโดยรถยนต์แล้ว ยังมีทรัพยากรทางธรรมชาติและทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สามารถพัฒนาเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยวได้ เช่น หาดบ้านแหลมสวรรค์ เกาะบ้านฝางหลุ่ม สวนยางพารา วิถีชีวิตของชุมชน เช่น การจับสัตว์น้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา การดำหาไม้ใต้น้ำ การทำไม้ตีพริก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวอื่นได้ เช่น วัดป่าโพธิญาณ รอยพระพุทธบาทกลางน้ำ (เขื่อนสิรินธร) และภูกระแต เป็นต้น อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถพัฒนาเป็นสินค้าที่ระลึกได้ เช่น ปลาส้ม ปลาร้า ปลาแห้ง และไม่ตีพริก ในขณะที่ชุมชนมีข้อจำกัดด้านการขาดสิ่งบริการทางการท่องเที่ยว ด้านการขาดการรักษาความสะอาดในพื้นที่ และด้านการขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ตาม ชุมชนสามารถพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่ก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ได้ คือ การท่องเที่ยวทางน้ำโดยการล่องแพที่เน้นการอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อมผ่านเรื่องเล่า “การเดินทางของไม้ใต้น้ำ” และ “การเดินทางของปลา” ซึ่งนำเสนอความงดงามตามธรรมชาติของสายน้ำผสานกับการนำเสนอวิถีชุมชน

Title Alternate A potential of ecotourism development : a case of Baan Leam Sawan, Sirinthorn district, Ubon Ratchathani
Fulltext: