ภาษาและอุดมการณ์ในวิสัยทัศน์เทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Titleภาษาและอุดมการณ์ในวิสัยทัศน์เทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsชนัฏดา ผลานันต์
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาภาษาไทย
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberP ช145 2561
Keywordsการวิเคราะห์ภาษา, การใช้ภาษาไทย, ภาษาศาสตร์ -- การวิเคราะห์, ภาษาไทย -- การใช้ภาษา, วจนะวิเคราะห์
Abstract

การศึกษานี้เป็นการศึกษากลวิธีทางภาษาที่มีความสัมพันธ์กับอุดมการณ์ในวิสัยทัศน์เทศบาลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสื่อสารกลวิธีในการสื่อสารอุดมการณ์ ผลการศึกษาพบว่ามีการใช้กลวิธีทางภาษาที่มีความสัมพันธ์กับอุดมการณ์ แบ่งเป็น 4 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีทางศัพท์ ประกอบด้วย 1) การใช้คำที่มักปรากฏร่วมกัน 2) การใช้คำกิริยาที่มักปรากฏร่วมกัน 3) กลวิธีการแสดงความเชื่อที่มีอยู่ก่อน ได้แก่ การใช้มูลบท (presupposition) 4) กลวิธีทางวาทศิลป์ ได้แก่ การใช้คำขวัญ (slogans) กลวิธีทางภาษาดังกล่าวสื่อสารให้เห็นถึงอุดมการณ์ในวิสัยทัศน์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 อุดมการณ์ ได้แก่ อุดมการณ์เมืองน่าอยู่ อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง อุดมการณ์การเป็นสมาชิกอันพึงประสงค์ ประกอบด้วยชุดความคิดย่อย 2 ชุด ได้แก่ อุดมการณ์ของประชาชนทั่วไปอันพึงประสงค์ และอุดมการณ์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันพึงประสงค์ อุดมการณ์การศึกษาจากการศึกษาข้อความวิสัยทัศน์ดังกล่าว ยังพบว่าอุดมการณ์ที่ถ่ายทอดผ่านวิสัยทัศน์ เทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบการสื่อสารถึงอุดมการณ์ความเป็นเมืองน่าอยู่มากที่สุดปรากฏในรูปภาษาที่กล่าวถึง “เมืองน่าอยู่” โดยตรง และคุณสมบัติของการเป็นเมืองน่าอยู่ ซึ่งปรากฏซ้ำในวิสัยทัศน์ของเทศบาลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนให้เห็นอุดมการณ์ความเชื่อสำคัญอย่างหนึ่งในสังคมไทยว่า การพัฒนาบ้านเมืองให้น่าอยู่ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านกายภาพ ด้านการบริหารจัดการ จะทำให้ผู้คนที่อยู่อาศัยมีความพึงพอใจ และนำไปสู่ความสุขในการอยู่อาศัยและการดำรงชีวิต อีกส่วนหนึ่งคืออุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมักปรากฏรูปภาษาที่สื่อสารถึงการยึดปรชัญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาเทศบาลตลอดจนความเป็นอยู่ของประชาชน

Title Alternate The language and ideologies the vision of the municipality the Northeastern Thai