การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ กรณีศึกษาบ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ กรณีศึกษาบ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2558
Authorsสุวภัทร ศรีจองแสง
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberG156.5.H47 ส868 2558
Keywordsการท่องเที่ยวอุบลราชธานี, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การออกแบบของที่ระลึก, ของที่ระลึก, บ้านปากน้ำ(อุบลราชธานี), ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก, วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว, อัตลักษณ์
Abstract

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ กรณีศึกษาบ้านปากน้ำ ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนบ้านปากน้ำเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสินค้าของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปากน้ำ จังหวัดอุบลราชธานีอย่างสร้างสรรค์ (2) ศึกษาระดับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสินค้าของที่ระลึกในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปากน้ำและ (3) นำเสนอรูปแบบสินค้าของที่ระลึกที่สามารถตอบสนองความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและสะท้อนอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปากน้ำอย่างสร้างสรรค์ งานวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามนักท่องเที่ยวกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 125 คน รวมถึงเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มชาวบ้านจากชุมชนจำนวน 2 คน กลุ่มหน่วงานรัฐที่ทำหน้าที่ในด้านนโยบายและแผนการพัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ หน่วยงานละ 2 คน และกลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชน จำนวน 10 คน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายสรุปความควบคู่กับการใช้สถิติพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 56.0 และเป็นเพศชายจำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 44.0 ส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.0 ส่วนใหญ่จะมีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 58.4 ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 56.8 มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 25.6 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 20,001-30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 53.6 ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสินค้าของที่ระลึกในชุมชนบ้านปากน้ำในปัจจุบันนั้น สามารถแบ่งความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อของที่ระลึกออกแบบ 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ด้านการสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น (2) ด้านคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ และ (3) ด้านคุณค่าของงานศิลปะและความงาม สำหรับด้านที่ 1 นักท่องเที่ยวมีความต้องการของที่ระลึกชุมชนบ้านปากน้ำด้านการสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นในระดับมาก ซึ่งจะให้ความสำคัญในเรื่องของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สามารถสะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ด้านศิลปวัฒธรรมและประเพณีในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่ 2 ด้านคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ นักท่องเที่ยวให้มีความต้องการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกมีการแสดงขั้นตอนการผลิตในระดับมากที่สุด และด้านที่ 3 ด้านคุณค่าของงานศิลปะและความงาม นักท่องเที่ยวมีความต้องการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกมีรูปทรงสวยงามอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น หากชุมชนบ้านปากน้ำต้องการพัฒนารูปแบบสินค้าของที่ระลึกที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและสะท้อนอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปากน้ำอย่างสร้างสรรค์ออกสู่สายตาของนักท่องเที่ยวชุมชนควรที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สามารถสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้มากขึ้น รวมถึงควรที่จะเพิ่มคุณค่าของงานศิลปะและความงามควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ได้รูปแบบสินค้าของที่ระลึกที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและสะท้อนอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มากขึ้นและยังถือได้ว่าเป็นด้านที่สำคัญอย่างมากกับรูปแบบสินค้าที่ระลึก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวสนใจและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก รวมถึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถ ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกได้
ดังนั้นรูปแบบสินค้าของที่ระลึกที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนบานปากน้ำอย่างสร้างสรรค์นั้น ชุมชนบ้านปากน้ำควรเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนบ้านปากน้ำซึ่งถ่ายทอดจากของที่ระลึกโดยการสื่อความหมายผ่านทางอัตลักษณ์ความเป็นชุมชนในริมแม่น้พมูลและหากบุ่งสะพัง ทั้งในรูปแบบของเสื่อสกรีน และแบบปกสมุดบันทึก อีกทั้งควรเพิ่มงานฝีมือลงไปด้วย เช่น รูปวาดในโปสการ์ด รวมถึงการใช้ภาษาท้องถิ่นที่แสดงให้เห็นอัตลักษณ์ด้านภาษาสำหรับการตั้งราคาขายโปสเตอร์ การตั้งราคาขายโปสการ์ดในราคาที่สูงกว่าแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ อาจจะต้องสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าของตัวเองให้มากขึ้นกว่านี้ เช่น การเพิ่มงานฝีมือใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์มากขึ้น รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งการสร้างสรรค์ลวดลายบนของที่ระลึกบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ความเป็นชุมชนบ้านปากน้ำ ซึ่งถือว่าคุ้มค่ากับราคาที่ได้ซื้อ

Title Alternate The development of creative souvenir for cultural tourism: a case study of Paknam village, Kudlad sub-district, Ubon Ratchathani Province