การสร้างและทดสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามวัดการตัดสินใจร่วมด้วยราสซ์โมเดล

Titleการสร้างและทดสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามวัดการตัดสินใจร่วมด้วยราสซ์โมเดล
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsสุวรส ลีลาศ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA ส875ก 2561
Keywordsการทดสอบความเที่ยงตรง, การวัดการตัดสินใจ, การสำรวจสุขภาพ, ราสซ์โมเดล, แบบสอบถาม -- ความตรง
Abstract

การให้บริการดูรักษาผู้ป่วยในปัจจุบันเน้นการทำงานแบบสหวิชาชีพเพื่อให้เกิดผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด นอกจากนี้การให้บริการยังเน้นการดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยให้ผู้ป่วยมีบทบาทในการดูแลรักษามากขึ้นโดยการตัดสินใจร่วมซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้ป่วยและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทำงานร่วมกันในการตัดสินใจทางการแพทย์จากการขาดเครื่องมือวัดการตัดสินใจร่วมของประเทศ ไทย งานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและทดสอบคุณสมบัติด้านจิตวิทยาของแบบสอบถามวัดการ ตัดสินใจร่วมระหว่างผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์จากมุมมองของผู้ป่วย แบบสอบถามฉบับร่างสร้างขึ้นจากขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจร่วม และตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดย ผู้เชี่ยวชาญ ความสอดคล้องของข้อคำถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการมีค่าอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 แบบสอบถามฉบับสุดท้าย มีข้อคำถามจำนวน 17 ข้อ 5 ตัวเลือกตอบเก็บตัวอย่างในผู้ป่วยจำนวน 240 รายจาก 4 แผนกในโรงพยาบาล ดังนี้ 1) แผนกผู้ป่วยนอก 2) แผนกผู้ป่วยใน 3) แผนกอุบัติเหตุ- ฉุกเฉิน และ 4) คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทดสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามโดยใช้ราสซ์โมเดล ผลการศึกษาพบว่า แบบสอบถามมีความเป็นเอกมิติและมีความเป็นอิสระของข้อคำถาม การทดสอบ ความเชื่อมั่นพบว่าค่า Person reliability, Person separation และสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha coefficient) มีค่า 0.86, 2.45, 0.92 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ค่า Item reliability มีค่า 0.86 และค่า Item separation มีค่า 2.52 การทดสอบความเหมาะสมรายข้อพบว่ามีจำนวน 15 ข้อ (ร้อยละ 88.24) มีค่าอยู่ระหว่างเกณฑ์ 0.60-1.40 หลังจากปรับปรุงรายการคำตอบเหลือ 3 ระดับ และตัดกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เหมาะสมกับราสซ์โมเดลจำนวน 28 ราย แล้วทดสอบความเชื่อมั่นพบว่า Item reliability และ Item separation มีค่าเพิ่มขึ้น แต่ยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับเล็กน้อย โดยพบว่า ค่า Person reliability, Person separation และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟามีค่า 0.85, 2.39, 0.92 ตามลำดับ ค่า Item reliability มีค่า 0.88 และ Item separation มีค่า 2.74 ข้อคำถามจำนวน 12 ข้อ (ร้อยละ 70.59) มีค่าความเหมาะสมรายข้ออยู่ระหว่าง 0.60-1.27 สรุปได้ว่าแบบสอบถามวัดการตัดสินใจร่วมมีความเป็นเอกมิติและความเป็นอิสระของข้อคำถามมีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นที่ดี แต่อย่างไรก็ตามในการศึกษาครั้งต่อควรมีการทดสอบในผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น

Title Alternate Development and validation of the shared decision making questionnaire : Rasch model
Fulltext: