ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

Titleผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsจุฑามาศ นักบุญ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA จ628ผ 2560
Keywordsการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -- การดูแล, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, เบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแล
Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้าง พลังอำนาจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผลที่เกิดต่อผู้ป่วย ตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามี 2 กลุ่ม คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้แก่ อสม. แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน และกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยู่ภายใต้การดูแลของ อสม.ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน โดย อสม.กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้าง พลังอำนาจ ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test Independent t-test และ paired t –test ผลการศึกษา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้พลังอำนาจ ความรู้และการประเมินการรับรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยเบาหวานไม่แตกต่างกัน แต่หลังทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยการ รับรู้พลังอำนาจไม่แตกต่างกัน ส่วนคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน สูงกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value= 0.018) อีกด้านมีคะแนนเฉลี่ยการประเมินการรับรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานก่อนและหลังทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p-value= 0.001 และ0.031) และผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมี คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวาน 3 ด้านและระดับน้ำตาล ในเลือดไม่แตกต่างกัน หลังการทดลองพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติ ในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวานในด้านการควบคุมการรับประทานอาหาร การออกก าลังกาย การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001, 0.003, 0.004 และ < 0.001 ตามลำดับ) และกลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.002) การนำโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ อสม.ต่อการต่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จะส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ดีขึ้น และทำให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น

Title Alternate Effects of empowerment program for health care volunteer on diabetic care