การออกแบบและการพัฒนาเตาอบไม้ไผ่ที่เหมาะสมกับงานหัตถกรรม

Titleการออกแบบและการพัฒนาเตาอบไม้ไผ่ที่เหมาะสมกับงานหัตถกรรม
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2554
Authorsศักดิ์ชาย สิกขา, เสกสันต์ ศรีสันต์
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTT190 ศ325
Keywordsหัตถกรรม, เครื่องจักสาน, เตาอบ--การออกแบบ, เตาอบไม้ไผ่, ไม้ไผ่
Abstract

สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยไว้ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลการอบไม้ไผ่ของไทยทั้งที่เป็นการอบรมควัน และการอบไอน้ำการใช้พืชสมุนไพรเพื่อศึกษาขุดเด่น จุดด้อยของแต่ละวิธีการ 2) เพื่อทดลองพัฒนารูปแบบเตาอบ และกรรมวิธีการอบที่สามารถป้องกันมอดและแมลงได้ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลการทดลอง และนำผลการเผยแพร่กับกลุ่มผู้ผลิตงานหัตถกรรมไม้ไผ่ โดยผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสภาพปัจจุบันและปัญหาในการอบไม้ไผ่ ในพื้นที่ 10 จังหวัด คือ กาญจนบุรี ปราจีนบุรี นครนายก หนองบัวลำภู อุบลราชธานี เลย นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ยโสธร และได้ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ได้จำแนกวิธีการที่พบออกเป็น 2 ลักษณะและแยกเป็นกรณีศึกษาที่แตกต่างกัน คือ การอบรมควันสำหรับงานจักสาน พบกรณีศึกษาที่มีความแตกต่างกัน 9 กรณี และการอบรมควันสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ พบกรณีศึกษาที่มีความปตกต่างกัน 6 กรณี นอกจากนั้นยังได้ศึกษากรรมวิธีการป้องกันมอดและแมลงอื่น ๆ และการใช้เตาในงานอบอื่น ๆ ที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเตาอบรมควันอีก 5 กรณี หลังจากนั้นได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ รูปแบบของเตาอบและคุณภาพในการอบในลักษณะต่าง ๆ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของการอบในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งสรุปผลแยกออกเป็น 5 ประเด็นหลัก คือ วัสดุในการก่อสร้างเตาอบรมควัน หลังได้ข้อสรุปผู้วิจัยได้จัดประชุมระดมความคิดผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 12 ราย สรุปประเด็นสำคัญได้ 3 ประการ คือ 1)ด้านเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ ควรเน้นความประหยัดในการเผาไหม้ วัสดุในการนำมาเป็นเชื้อเพลิงควรเป็นวัสดุหาได้ในท้องถิ่นและควรเป็นวัสดเหลือใช้ กรรมวิธีการเผาและวัสดุเชื้อเพลิงต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือมลพิษต่อผู้ใช้งาน และบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ 2)ด้านรูปแบบเตาอบรมควัน ควรมีขนาดที่สามารถบรรจุลำไม้ไผ่ ได้ในขนาดความยาว ไม่ต่ำกว่า 2 เมตร มีช่องทางบรรจุไม้ไผ่ ช่องทางเติมเชื้อเพลิง และช่องทางระบายควัน 3) ด้านวัสดุก่อสร้างเตา ควรเป็นวัสดุที่หาซื้อได้ในท้องถิ่น มีความคงทนต่อการใช้งาน และเน้นประหยัด จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งหมด ผู้วิจัยได้มาเป็นข้อกำหนดเบื้องต้น ในการทดลองออกแบบและสร้างเตาอบควันต้นแบบจำนวน 4 เตาอบ โดยเตาอบหมายเลข 4 เป็นเตาอบรมควันที่ได้รับการทดสอบแล้วว่า มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตงานหัตถกรรมไม้ไผ่ทั้งงานจักสานและงานเฟอร์นิเจอร์ ในการทดสอบการป้องกันมอดและแมลงกัดแทะ พบว่า ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ไม่พบการกัดแทะของมอดและแมลงสอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนด และได้มีการใช้งานในสถานประกอบการ 2 แห่ง คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคุ้มท่าช้าง ของนายเลอลักษณ์ บุญเอก ตั้งอยู่ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานีและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่งามของนายสมยศ คำเวบุญ ตำบลดงยาง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตงานหัตถกรรมไม้ไผ่และของตกแต่งบ้าน

Title Alternate The design and development of bamboo-baking ovens appropriate for handicraft