การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับแบบเปรียบเทียบเพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนชั้นมัธมศึกษาปีที่ 5

Titleการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับแบบเปรียบเทียบเพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนชั้นมัธมศึกษาปีที่ 5
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsพนิดา กันยะกาญจน์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQC พ199ก 2556
Keywordsการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ, การสอนวิทยาศาสตร์, มโนมติทางวิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), เคมี--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Abstract

เนื้อหาวิชาเคมีส่วนใหญ่เป็นนามธรรมยากต่อการทำความเข้าใจ เช่น อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ส่งผลให้นักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับแบบเปรียบเทียบ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมร จำนวน 8 เนื้อหา รวม 15 ชั่วโมง โดยศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชียงแก้วพิทยาคม จำนวน 44 คน กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับแบบเปรียบเทียบประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นสร้างความสนใจ (2) ขั้นสำรวจและค้นหา (3) ขั้นสร้างคำอธิบายและลงข้อสรุป (4) ขั้นขยายความรู้ โดยผู้สอนใช้กิจกรรมการเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนและสิ่งที่ต่างของตัวเปรียบเทียบและมโนมติวิทยาศาสตร์ เป้าหมาย ในการประยุกต์ใช้ความรู้จากขั้นการสำรวจเพื่ออธิบายเชื่อมโยงเข้ากับสถานการณ์ใหม่ และ (5) ขั้นการประเมินผล จากการวิเคราะห์มโนมติเป็นร้อยละของมโนมติถูกต้อง คลาดเคลื่อน และผิด พบว่า นักเรียนมีร้อยละมโนมติก่อนเรียนแบบถูกต้อง คลาดเคลื่อน และผิด คิดเป็นร้อยละ 13.69, 38.45 และ 47.86 ตามลำดับ และร้อยละมโนมติหลังเรียนเป็น 64.72, 24.65 และ 10.63 ตามลำดับ และเมื่อเวลาผ่านไป 30 วัน พบว่า นักเรียนมีร้อยละมโนมติเป็น 70.63, 21.16 และ 8.21 ตามลำดับ จากการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยมโนมติหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย 45.05, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.28) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย 19.79, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.08) แต่ไม่แตกต่างกับคะแนนเฉลี่ยวัดความคงทนทางการเรียน (ค่าเฉลี่ย 48.02, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.96) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Title Alternate Implementation of inquiry incorporated with analogy learning approach to enhance scientific concepts of chemical reaction rate for grade 11 students