การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้สกุลม้าวิ่งเพื่อเป็นไม้ประดับกระถาง

Titleการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้สกุลม้าวิ่งเพื่อเป็นไม้ประดับกระถาง
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2555
Authorsกาญจนา รุ่งรัชกานนท์, สุทิน พรหมโชติ, ภานุ เรืองจันทร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB409.A3 ก426ร 2555
Keywordsกล้วยไม้--การปรับปรุงพันธุ์, กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง, ไม้กระถาง
Abstract

การสร้างลูกผสมกล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตกล้วยไม้เป็นไม้ประดับกระถางที่มีดอกสวยงาม สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ได้ดำเนินการวิจัยโดยรวบรวมเชื้อพันธุกรรมที่ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการสร้างลูกผสม ทำการผสมพันธุ์กล้วยไม้สกุลม้าวิ่งและสกุลฟาแลนอปซีส กล้วยไม้สกุลม้าวิ่งและสกุลเข็มได้ฟักลูกผสม 45 คู่ผสม เมื่อนำเมล็ดจากฝักไปเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ พบว่า มีจำนวน 7 คู่ผสมที่เมล็ดมีการพัฒนาเป็นต้นอ่อน แต่ได้ต้นอ่อนจำนวนน้อยมาก จึงทำการทดลองเพื่อเพิ่มปริมาณต้นกล้วยไม้จากชิ้นส่วนใบ โดยการชักนำโปรโตคอร์มไลค์บอดี้ จากชิ้นส่วนใบอ่อนของกล้วยไม้ม้าวิ่งและกล้วยไม้แดงอุบล เมื่อนำส่วนโคนใบเพาะเลี้ยงในอาหาร NDM ที่เติมสาร TDZ ความเข้มข้น 1-10 มก./ล. สามารถชักนำโปรโตคอร์มไลค์บอดี้ ยอด และราก ซึ่งจุดกำเนิดของการพัฒนาเนื้อเยื่อ คือ การเกิดโซมาติกเอ็มบริโอที่ชั้นเซลล์ epidermis บริเวณโคนใบ ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เพิ่มปริมาณต้นกล้วยไม้ลูกผสมให้มีปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว
การวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกล้วยไม้ลูกผสมต่างสกุล โดยการศึกษาอายุฝักลูกผสม 4 ระยะ คือ 1, 1.5, 2 และ 2.5 เดือน และอาหารเพาะเลี้ยง 5 สูตร คือ Vacin & Went (VW), VW+2,4-D ความเข้มข้น 100 มก./ล., VW+Dicamba ความเข้มข้น 50 มก./ล., VW+Kinetin ความเข้มข้น 1 มก./ล.+NAA ความเข้มข้น 0.1 มก./ล. และ VW+Peptone ความเข้มข้น 2 ก./ล. ผลการทดลองพบว่าฝักอ่อนลูกผสมอายุ 2 เดือน มีความเหมาะสมที่จะนำคัพภะไปเลี้ยงบนอาหารเพาะเลี้ยง และอาหารที่เหมาะสม คือ อาหารสูตร VW ที่เติมสาร kinetin ความเข้มข้น 1 มก./ล.+NAA ความเข้มข้น 0.1 มก./ล. คัพภะที่เพาะเลี้ยงบนอาหารนี้สามารถพัฒนาได้ดีที่สุดจำนวนเฉลี่ย 61 คัพภะ
การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ลูกผสมในสภาพปลอดเชื้อ นำต้นกล้วยไม้ลูกผสมฟาแลนอปซิส x แดงอุบล มาเพาะเลี้ยงในอาหารสูตรสังเคราะห์ 2 สูตร คือ สูตร Vacin and Went (VW) และสูตร ½ Murashige & Skoog (MS) และเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต คือ Kinetin และ BAP ที่ระดับความเข้มข้น 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ที่ระดับความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการทดลองพบว่า สูตร ½MS ที่ไม่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต ทำให้ลูกกล้วยไม้เจริญเติบโตดีที่สุด
การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลูกกล้วยไม้ในสภาพโรงเรือน นำกล้วยไม้ลูกผสมฟานอปซีส เวดดิ้ง x แดงอุบล ปลูกในวัสดุต่าง ๆ 4 แบบ คือ ปลูกในสแฟกนัมมอส, ปลูกในกาบมะพร้าวสับ, ปลูกในถ่านหุงต้ม และปลูกในถ่านหุงต้มปิดทับด้วยสแฟกนัมมอส ผลการทดลองพบว่า ถ่านหุงต้มปิดทับด้วยสแฟกนัมมอสมีผลทำให้ลูกกล้วยไม้เจริญเติบโตดีทั้งทางด้านต้น ใบ และราก
การศึกษาลักษณะทางสัณฐานของกล้วยไม้ลูกผสม ซึ่งได้ทำการผสมระหว่างสกุลม้าวิ่งและสกุลฟาแลนอปซิส และระหว่างสกุลม้าวิ่งและสกุลเข็ม ได้ผลผลิต 4 คู่ผสม คือ 1) แดงอุบล x เข็มแสด 2) แดงอุบล x เข็มแดง 3) แดงอุบลxฟาแลนอปซิส ขาวปากแดง 4)ฟาแลนอปซิส เวดดิ้งxแดงอุบล โดยลูกผสมทั้ง 4 คู่ผสม มีลักษณะของใบที่แตกต่างกัน เมื่อปลูกเลี้ยงต่อไปสามารถปลูกเลี้ยงจนออกดอก 2 คู่ผสม คือ แดงอุบล x เข็มแดง และ ฟาแลนอปซิส เวดดิ้ง x แดงอุบล ซึ่งทั้งสองคู่ผสมมีความเหมาะสมที่จะเป็นไม้ประดับกระถาง เนื่องจากต้นและชื่อดอกมีขนาดกะทัดรัด ดอกมีความทนทาน ต้นสามารถทนทานต่อโรคและแมลงได้นำกล้วยไม้ทั้งสองคู่ทำการจดทะเบียดกล้วยไม้ลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่ The Royal Horticultural Society ณ ประเทศอังกฤษ จำนวน 2 ชื่อ คือ Asconopsis Purple Ubon และ Phalaenopsis Warin Bride
การวิเคราะห์ DNA เพื่อตรวตสอบเอกลักษณ์ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ โดยใช้เครื่องหมาย EST-SSR-B34 ตรวจสอบเอกลักษณ์ลูกผสมของกล้วยไม้ที่ได้รับการผสมพันธุ์ระหว่างแดงอุบล รหัส NK13xฟาแลนอปซีส 1 ขาวปากแดง สามารถแสดงเอกลักษณ์ของลูกผสมที่แตกต่างจากพ่อและแม่ได้และยืนยันการเป็นลูกผสมที่แท้จริงได้

Title Alternate Breeding of Doritis sp. for ornamental pot plant