การศึกษาอิทธิพลทางพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตงา (Sesamum indicum L.)

Titleการศึกษาอิทธิพลทางพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตงา (Sesamum indicum L.)
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsจักรกฤษณ์ ศรไชย
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB จ216ก 2558
Keywordsการถ่ายทอดทางพันธุกรรม, งา--การถ่ายทอดทางพันธุกรรม, งา--พันธุ์, ผลผลิตงา, พันธุกรรมของงา
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาอิทธิพลทางพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตงาน 3 คู่ผสม คือ BL5×MR13, BL5×พันธุ์พื้นเมือง และ MR13×พันธุ์พื้นเมือง โดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของชั่วแม่ พ่อ ลูกผสมชั่วที่ 1 และ 2 และลูกผสมกลับไปยังแม่และพ่อ (P1, P2, F1, F2, BCp1 และ BCp2 ตามลำดับ) พบว่า การถ่านทอดลักษณะความสูงต้น ความสูงฝักแรก และจำนวนฝักของต้น ควบคุมด้วยอิทธิพลของยีนทั้ง 3 แบบ คือ อิทธิพลของยีนแบบ additive, dominance และ epistasis โดยบทบาทการทำงานของยีนถูกควบคุมด้วยอิทธิพลของยีนแบบ dominance และ epistasis เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่การถ่ายทอดลักษณะน้ำหนัก 1000 เมล็ด ควบคุมด้วยอิทธิพลของยีนแบบ additive และลักษณะจำนวนกิ่งหลักต่อต้น ถูกควบคุมด้วยอิทธิพลของยีนทั้ง 3 แบบเท่า ๆ กัน
อัตราพันธุกรรมแนวกว้างระดับปานกลางในลักษณะน้ำหนัก 1000 เมล็ด โดยมีค่าอัตราพันธุกรรมแนวกว้างอยู่ในช่วง 0.36-0.58 รองลงมา คือ ความสูงต้น มีค่าอัตราพันธุกรรมแนวกว้างอยู่ในช่วง 0.19-0.31 และจำนวนกิ่งหลักต่อต้น มีค่าอัตราพันธุกรรมแนวกว้างต่ำสุด สำหรับอัตราพันธุกรรมแนวแคบ พบว่า ลักษณะน้ำหนัก 1000 เมล็ด มีค่าอัตราพันธุกรรมแนวแคบสูงสุด โดยมีค่าอยู่ในช่วง 0.39-1.06 และลักษณะความยาวข้อปล้อง ความสูงต้น จำนวนฝักต่อต้น และผลผลิตต่อต้น มีค่าอัตราพันธุกรรมแนวแคบต่ำสุด

Title Alternate Studies on genetic effects of yield and yield components sesame (Sesamum indicum L.)