การกำจัดความกระด้างและสารอินทรีย์ธรรมชาติในน้ำด้วยเยื่อกรองนาโนฟิลเตรชัน

Titleการกำจัดความกระด้างและสารอินทรีย์ธรรมชาติในน้ำด้วยเยื่อกรองนาโนฟิลเตรชัน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsศุจีนันท์ สันติกุล
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP ศ667 2559
Keywordsการกำจัดความกระด้าง, น้ำ--การทำให้บริสุทธิ์--การกรอง, น้ำกระด้าง, เยื่อกรองนาโนฟิลเตรชัน
Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำจัดความกระด้าง (เหล็ก แมงกานีส แคลเซียม และแมกนีเซียม) และสารอินทรีย์ธรรมชาติในน้ำด้วยเยื่อกรองแบบนาโน ทำการทดลองโดยใช้ชุดทดสอบนาโนตามการไหลแนวขวางบนเยื่อกรองกับแผ่นโพลีเอไมด์นาโนฟิลเตรชัน (HL4040FM, GE water and process technology) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ชนิดความกระด้างในน้ำ (เหล็ก แมงกานีส แคลเซียม และแมกนีเซียม) ส่งผลต่อการลดลงของฟลักซ์สารละลายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การลดลงของฟลักซ์สารละลายเรียงตามลำดับดังนี้ เหล็ก > แมงกานีส > แคลเซียม > แมกนีเซียม ซึ่งสอดคล้องกับค่าการกำจัดโดยเยื่อกรองนาโนเรียงตามลำดับดังนี้ เหล็ก > แมงกานีส > แคลเซียม > แมกนีเซียม อาจเนื่องจากการเกิดการตกตะกอนของเหล็กทำให้เพิ่มการสะสมของสารโลหะหนักบนพื้นผิวเยื่อกรอง ส่งผลต่อการลดลงของฟลักซ์สารละลาย และเพิ่มค่าการกำจัด นอกจากนี้ ความกระด้างผสมให้ฟลักซ์สารละลายให้ผลอยู่ระหว่างฟลักซ์ของความกระด้างเดี่ยว ขณะที่ความกระด้างผสมกับเหล็กมีแนวโน้มฟลักซ์ลดลงไม่ต่างกันมากจากความกระด้างที่มีเหล็กอย่างเดียว เนื่องจากตะกอนที่เกิดขึ้นมาจากเหล็กเป็นส่วนใหญ่ สารละลายที่มีผลร่วมระหว่างสารอินทรีย์ธรรมชาติกับความกระด้างเดี่ยวและความกระด้างผสมในน้ำ ส่งผลต่อการลดลงของฟลักซ์สารละลายสูงกว่าฟลักซ์จากผลของความกระด้างในน้ำเพียงอย่างเดียว และมีแนวโน้มในการกำจัดความกระด้างในน้ำเพิ่มขึ้น โดยเยื่อกรองนาโนมีความสามารถในการกำจัดสารอินทรีย์ธรรมชาติอยู่ที่ 96-99%

Title Alternate Removal of water hardness and natural organic matter by nanofiltration