การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา: แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา: แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsอภิญญา ทองอินทร์
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberG155.T5 อ253
Keywordsการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม--การจัดการ--อุบลราชธานี, การวางแผนเชิงกลยุทธ์, วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว--อุบลราชธานี, แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง
Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของแหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์เพื่อใช้พัฒนาการท่องเที่ยวของแหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล (Key informants) คือ ชุมชนบ้านก้านเหลือง พระสงฆ์วัดบ้านก้านเหลือง เทศบาลตำบลขามใหญ่ และนักท่องเที่ยวที่เคยมาเที่ยว จำนวน 29 คน การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สร้างคำถามสัมภาษณ์จากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำเสนอข้อมูลแบบเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูล (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลืองในปัจจุบันมีจุดแข็ง (Strengths) คือ 1) แหล่งท่องเที่ยวได้รับการดูแลจากเทศบาลตำบลขามใหญ่ ชุมชนมีความใกล้ชิดกับวัดโดยมีการช่วยเหลืออุปถัมภ์วัดและมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 2) เป็นแหล่งโบราณคดีที่เก่าแก่ที่มีโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดีและด้านประวัติศาสตร์แก่ผู้ที่สนใจ และ 3) เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง
จุดอ่อน (Weaknesses) ที่พบได้แก่ 1) ขาดการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ และภาคเอกชน 2) ขาดการจัดตั้งกลุ่มองค์กรเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 3) ขาดการดูแลรักษาที่เหมาะสมทำให้เกิดความทรุดโทรม 4) แหล่งท่องเที่ยวมีโบราณวัตถุน้อย 5) ขาดการประชาสัมพันธ์ 6) ขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการดูแลแหล่งท่องเที่ยวและให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ 7) ขาดการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และ 8) ขาดงบประมาณในการพัฒนา
แนวทางการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์เชิงรุก (SO) เพิ่มประสิทธิภาพในการร่วมมือกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสนับสนุนให้ชุมชนสร้างสื่อออนไลน์ รวมถึงส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจที่มีแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนมากขึ้น เพื่อประสานงานกับเทศบาลตำบลขามใหญ่เพื่อวางแผนนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสำคัญ ด้านกลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO) ส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักดูแลแหล่งท่องเที่ยวด้วยตนเอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือและให้ความรู้ด้านการดูแลแหล่งท่องเที่ยวปรับปรุงและพัฒนา เว็บไซต์ นิตยสาร และแผ่นพับ กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST) ชุมชนร่วมมือกับเทศบาล ตำบลขามใหญ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งในด้านงบประมาณ ด้านการวา
แผน และด้านการตลาด เป็นต้น ด้านกลยุทธ์เชิงรับ (WT) เทศบาลตำบลขามใหญ่ร่วมมือกับชุมชนพัฒนา ซ่อมแซมแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว พัฒนาด้านช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่มีต้นทุนไม่มาก พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงจัดสรรงบประมาณพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

Title Alternate Strategic management approach for cultural Tourism site : case study Ban Kan Lueang archaeological site, Muang district, Ubon Ratchathani province
Fulltext: