กลไกการนำแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงสู่นโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบล

Titleกลไกการนำแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงสู่นโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบล
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsศิริพงษ์ สิมสีดา
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาพัฒนบรูณาการศาสตร์
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHC ศ462
Keywordsองค์การบริหารส่วนตำบล--บุรีรัมย์, องค์การบริหารส่วนตำบล--มหาสารคาม, องค์การบริหารส่วนตำบล--ศรีสะเกษ, เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง--บุรีรัมย์, เศรษฐกิจพอเพียง--มหาสารคาม, เศรษฐกิจพอเพียง--ศรีสะเกษ
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลไกการนำแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง เข้าสู่นโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยผ่านแผนพัฒนาชุมชน และกลไกที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดและปรับเปลี่ยนนโยบาย ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากตำบลตัวอย่าง 6 ตำบล เป็นกลุ่มตัวแทนภาครัฐในองค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มผู้นำทางแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มอาชีพอื่น ๆ กลุ่มละ 18 คน รวม 54 คน ใช้เวลาศึกษา 1 ปี พบว่า กลไกที่มีความสำคัญและสามารถผลักดันแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่การปฏิบัติจริงในชุมชน โดยผ่านนโยบายและแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล มี 3 กลไก คือ กลไกในระดับปัจเจกบุคคล กลไกในระดับองค์กร และกลไกการเรียนรู้ของชุมชน
กลไกในระดับปัจเจกบุคคล บุคคลที่มีบทบาทในการผลักดันแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจ มีความเชื่อ และผ่านการปฏิบัติที่ทำให้พออยู่พอกินมีความสุข พอดีกับตัวเอง เทคนิคและวิธีการในการเผยแพร่แนวคิดและผลักดันโดยการลงมือปฏิบัติจริง คนในชุมชนเห็นและสัมผัสได้ด้วยตัวเขาเอง นอกจากนี้แล้วการเข้าไปเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อผลักดันในระดับนโยบายและแผนการพัฒนาของตำบลเป็นการผลักดันในระดับสูงขึ้น ในขณะเดียวกันบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการปรับและเปลี่ยนแปลงนโยบายมากที่สุด คือ นายกและปลัดขององค์การบริหารส่วนตำบล
กลไกในระดับองค์กร เป็นผลจากการรวมกลุ่มของระดับปัจเจกบุคคลที่เชื่อในแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มแรกเป็นกลุ่มสภาผู้นำในชุมชน และกลุ่มองค์กรเอกชน กลุ่มนี้จะเข้ามามีบทบาทผลักดันในการจัดทำแผนชุมชนและการให้การสนับสนุนสมาชิกหรือคนที่มีความเป็นตัวแทนของกลุ่มไปผลักดันในระดับนโยบาย ผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาตำบล ที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในเวทีประชาคม
กลไกการเรียนรู้ของชุมชน การเรียนรู้ เข้าใจ และความเชื่อของคนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรที่เข้าไปทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรท้องถิ่น และผู้นำในชุมชนมีผลต่อการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการนำแนวคิดชองเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปสู่นโยบายและแผนอย่างยิ่ง

Title Alternate Mechanisms for applying the sufficiency economy philosophy to policies of Tambon administrative organizations
Fulltext: