การบริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กรณีศึกษา : โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงปุ๋ยในจังหวัดอุบลราชธานี

Titleการบริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กรณีศึกษา : โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงปุ๋ยในจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2552
Authorsทวีศักดิ์ วิยะชัย, ปาณมน วิยะชัย, จริยา อ่อนฤทธิ์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberS654 ท229
Keywordsการจัดการโรงงาน, ปุ๋ยอินทรีย์--การตลาด, ปุ๋ยอินทรีย์--การผลิต--การจัดการ--อุบลราชธานี, ปุ๋ยอินทรีย์--การมีส่วนร่วมของประชาชน--อุบลราชธานี
Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารโรงเรียนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงปุ๋ย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปี พ.ศ. 2549 จำนวน 4 กลุ่มของจังหวัดอุบลราชธานี การเก็บข้อมูลประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การตรวจเอกสารและการประชุมกลุ่มย่อย ในด้านการจัดการ การผลิต การตลาด การเงิน และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อประเมินศักยภาพในการดำเนินงานของโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์แต่ละแห่ง จากการวิจัยสรุปได้ว่าเกษตรกรที่บริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่มีการจัดโครงสร้างองค์กรแบบอย่างง่าย มีผู้นำกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการบริหารมาก่อน โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทุกแห่งตั้งอยู่ห่างจากชุมชนไม่เกิน 1กิโลเมตร มีระบบสาธารณูปโภคสำหรับใช้ในการผลิตครบถ้วน ด้านการผลิตพบว่า โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทั้ง 3 แห่ง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงตามสูตรของ วว. ยกเว้นโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์อำเภอม่วงสามสิบที่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยสูตรของตนเอง ซึ่งปุ๋ยจากโรงเรียนทุกแห่ง มีคุณสมบัติต่ำกว่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดิน นอกจากนี้ปัญหาสำคัญในการผลิตปุ๋ยของทุกกลุ่มคือ เครื่องจักรขัดข้อง ด้านการตลาด ทุกกลุ่มมีแนวทางการตั้งราคาปุ๋ยแบบเดียวกัน คือ คำนวณจากต้นทุนการผลิตบวกกำไรที่ต้องการ ส่วนการจัดจำหน่ายมีสองรูปแบบคือ จำหน่ายโดยตรงที่หน้าโรงงานและจำหน่ายทางอ้อมโดยผ่านสมาชิก กรรมการหรือสหกรณ์ สำหรับด้านเงินทุนที่แต่ละกลุ่มนำมาใช้ในการดำเนินงาน ส่วนใหญ่ได้มาจากการลงหุ้นของสมาชิก โดยต้นทุนหลักในการผลิตปุ๋ย คือ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้แก่ มูลสัตว์และแม่ปุ๋ย จากการประเมินศักยภาพในภาพรวม พบว่า กลุ่มเกษตรกรทำนากุดประทาย อำเภอเดชอุดม เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพด้านการบริหารงานสูงที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมืองและเกษตรอินทรีย์ อำเภอตระการพืชผล และกลุ่มเกษตรปุ๋ยอินทรีย์ตำบลยางสักกะโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ ส่วนกลุ่มศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดข้าวชุมชนตำบลคำหว้า อำเภอตาลสุม มีศักยภาพในการบริหารต่ำที่สุด กล่าวโดยสรุปรัฐบาลจึงควรให้การสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานของโรงปุ๋ยอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

Title Alternate Organic fertilizer plant management: a case study "one district - one fertilizer plant" project in Ubonratchathani province